การศึกษาบุคลิกภาพและเจตคติของครูการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • วรางคณา โสมะนันทน์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภัทรพร แจ่มใส อาจารย์แนะแนว โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ครูการศึกษาพิเศษ, บุคลิกภาพของครูการศึกษาพิเศษ, เจตคติของครูการศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบุคลิกภาพและเจตคติของครูการศึกษาพิเศษ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูการศึกษาพิเศษที่ทำงานอยู่ในโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย มีจำนวน 32 คน เพื่อศึกษาบุคลิกภาพของครูการศึกษาพิเศษ นอกจากนี้ผู้วิจัยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูการศึกษาพิเศษ จำนวน 9 คน เพื่อศึกษาเจตคติของครูการศึกษาพิเศษ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบบุคลิกภาพ The Myers – Briggs Type Indicator (MBTI) ฉบับ G และ 2) แบบสัมภาษณ์เจตคติของครูการศึกษาพิเศษ  ผู้วิจัยนำเสนอบุคลิกภาพของครูกลุ่มตัวอย่างเป็นค่าความถี่และร้อยละ และนำเสนอเจตคติของครูกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ครูกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพแบบ ISTJ (ร้อยละ 34.37) ESTJ (ร้อยละ 25.00) และ ESFJ (ร้อยละ 12.50) ตามลำดับ และครูกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเจตคติทางบวกต่อนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ งานด้านการดูแลนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และแรงจูงใจในการเลือกทำงานด้านการดูแลนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

References

กรองทอง จุลิรัชนีกร. (2552). เส้นทางสายใหม่ สู่การเป็นครูการศึกษาพิเศษ. วารสารวิชาการ สำนักงาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 12(4), 51-56.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ธีรพงศ์ แก่นอินทร์, นิราศ จันทรกิจ, และสมคิด ธนะเรืองสกุลไทย. (2529). คุณลักษณะของครูที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์หนังสือประวัติครู สรุปรายงานการสัมมนาวิชาการเรื่องคุณธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครู โดยคณะนิสิตครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรการสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เธียรสินี โภคทรัพย์. (2548). ความรู้และเจตคติของครูโรงเรียนศึกษาพิเศษต่อเด็กพิการทางการได้ยินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต) นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นฤมล ทวีพันธ์, และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2556). ความเครียด ภาระการดูแล และทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกของครูที่ดูแลเด็กออทิสติกในโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(4), 395-406.

บัณดิษฐ ศรีเงิน. (2549). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูการศึกษาพิเศษตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทัศนะของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนการศึกษาพิเศษในภาคตะวันออก (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต) จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

เพ็ญแข ลิ่มศิลา, และธีรารัตน์ แทนขำ. (2545). คู่มือฝึกและดูแลเด็กออทิสติก สำหรับผู้ปกครอง. สมุทรปราการ: โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ จังหวัดสมุทรปราการ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2559). สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2557-2558. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

วิไลวรรณ ศรีสงคราม, สุชัญญา รัตนสัญญา, โรจน์รวี พจน์พัฒนพล, และพีรพล เทพประสิทธิ์. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2544). ลักษณะบุคลิกภาพของนักศึกษาไทย 6 สาขาอาชีพ (กฎหมาย,คอมพิวเตอร์,แพทยศาสตร์,มนุษยศาสตร์,วิศวกรรมศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์) จากการชี้วัดของ Myers Briggs Type Indicator (MBTI). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (อัดสำเนา).

สมทรง ตันประเสริฐ, รัตโนทัย พลับรู้การ, และวิไลรัตน์ ชัชชวลิตสกุล. (2546). คู่มือคุณครูสำหรับช่วยเหลือเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานจิตเวชเด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี.

Crawley, C. (1995). Personality traits of special education, regular education, and non-education teacher

preparation graduate students (Doctoral dissertation). VA: Longwood University.

Jensen, S. A. (2007). Relationship between personality and job burnout among special education teachers (Doctoral dissertation). MN: Capella University.

Kosuwan, K., Viriyangkura, Y., and Swerdlik, M. E. (2014). Special education today in Thailand. Special Education International Perspective: Practices Across the Globe, 28, 689-721.

Quenk, N. L. (2009). Essentials of Myers-Briggs type indicator assessment. Hoboken: Wiley.

Rushton, S., Mariano, J.M., and Wallace, T. L., (2011). Program selection among pre-service teachers: MBTI profiles within a college of education. Creative Education, 3(1), 16-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-21