การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม ในห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน

ผู้แต่ง

  • วิสุทธิ์ ตรีเงิน อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ห้องเรียนกลับด้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน กับการเรียนปกติ  และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้ในห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้  เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และสาขาวิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพมหานครฯ จำนวน 125 คน  สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคร้อเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 66 คน และสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์  จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 63 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม หรือวิชาที่มีหัวข้อเกี่ยวกับ “สิ่งแวดล้อมในประเทศ” ในปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  โดยวิธีการจับสลากกลุ่มเรียนมา 2 กลุ่ม  แล้วนำกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มมาสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลากอีกครั้ง  เพื่อจัดให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองและอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน แบบประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน แบบแผนการทดลองเป็นแบบ Pretest – Posttest Control Design การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ t – test Independent ในรูป Different Score และการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักศึกษาโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้ในห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ทิชานนท์ ชุมแวงวาปี, และลัดดา ศิลาน้อย. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะ การแก้ปัญหาด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษาส 21103. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 7.

ธนภรณ์ กาญจนพันธ์. (2559). ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา การกำกับตนเองและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม.) สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11071/1/TC1334.pdf

พัชรา วีระเผ่า. (2544). ผลการสอนแบบสืบสวนสอบสวนที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรายวิชา ส204 ประเทศของเรา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2556). สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์, และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และอมลวรรณ วีระธรรมโน. (2549). การสอนเพื่อพัฒนาการคิด. สงขลา: เทมการพิมพ์.

สุภาพร สุดบนิด, สมบัติ ท้ายเรือคา, และบังอร กุมพล. (2556). การเปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียนเจตคติต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7(ฉบับพิเศษ), 165 สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก https://parewaharley.files.wordpress.com/2014/12/e0b887

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง: ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21 (เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2). แพร่. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559. https://www.mbuisc.ac.th/phd/academic/flipped%20classroom2.pdf

อาลาวีย๊ะ สะอะ. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม.สงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2560.จาก https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11074/1/TC1337.pdf

Bergmann, J., and Sams, A. (2012). Flip your classroom reach every student in every class every day. United States of America: ISTE and ASCD.

Lind, G. (2008). The meaning and measurement of moral judgment competence (A dual-aspect model). Retrieved November 26, 2016, From https://www.uni-konstanz.de/ag-moral/pdf/Lind-2008_meaning-measurement.pdf.

Marlowe, C. A. (2012). The effect of the flipped classroom on student achievement and stress. Montana. Montana State University. Retrieved November 26, 2016, from https://scholarworks.montana.edu/xmlui/bitstream/handle/1/1790/MarloweC0812.pdf? sequence=1.

Fisher, R., Ross,B., LaFerriere, R., and Maritz, A. (2014). Flipped learning, flipped satisfaction, getting the balance right. Retrieved November 26, 2016, from https://tlijournal.com/tli/index.php/TLI/article/view/19

Sun, J.C.Y., and Wu,Y.T. (2016). Analysis of learning achievement and teacher-student interactions in flipped and conventional classrooms. Hsinchu. National Chiao Tung University. International Review of Research in Open and Distributed Learning, 17(1), 79. Retrieved March 20, 2016, from https://www.irrodl.org/index.php/irrodl/article/view/2116

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-21