ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของพยาบาลวิชาชีพกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ผู้แต่ง

  • เสาวนีย์ วงษ์พัชรวรากูล นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์และปริญญาเอก วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • โสภณ แย้มกลิ่น ปริญญาเอก คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นิติ มุขยวงศา อาจารย์ประจำ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พิมญาดา ภางาม อาจารย์ประจำ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของพยาบาลวิชาชีพ กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพมีประสบการณ์การปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ อย่างน้อย 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 187 คน โดยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกตัวอย่างแบบมีวัตถุประสงค์จำเพาะ (Purpose Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product-moment Correlation coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับภาวะผู้นำของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง    (gif.latex?\bar{X}=3.87) แยกเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับสูง ดังนี้ 1.ด้านการให้การสนับสนุน (gif.latex?\bar{X} =3.98) 2.ด้านการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล (gif.latex?\bar{X}= 3.96) 3.ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และ 4.การสร้างแรงจูงใจ (gif.latex?\bar{X}=3.91) 5.ด้านการพัฒนาวิสัยทัศน์ (gif.latex?\bar{X} =3.84) 6.ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ( gif.latex?\bar{X}=3.82) และ 7.ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (gif.latex?\bar{X} =3.64) ตามลำดับ 2.ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ในภาพรวม (gif.latex?\bar{X} =3.99) อยู่ในระดับสูง แยกเป็นรายด้านพบว่า 1.ด้านคุณภาพ (gif.latex?\bar{X} =4.25) อยู่ในระดับสูงมาก 2.ด้านการพัฒนา (gif.latex?\bar{X} =4.15) อยู่ในระดับสูง 3.ด้านประสิทธิภาพ (gif.latex?\bar{X} =3.94) อยู่ในระดับสูง 4.ด้านความพึงพอใจ (gif.latex?\bar{X}=3.93) อยู่ในระดับสูง 5.ด้านผลผลิตและด้านการปรับตัว (gif.latex?\bar{X} =3.82) อยู่ในระดับสูง ตามลำดับ 3.ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของพยาบาลวิชาชีพกับประสิทธิผล การปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับปานกลาง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .53 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

คัชรินทร์ ตยาคี, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, และสิริรัตน์ วิภาสศิลป์. (2559, กรกฎาคม-ธันวาคม). ความพร้อมของพยาบาลสู่ความเป็นเลิศระดับสากลในองค์การพยาบาลโรงพยาบาลติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจ 8(2), 107-118.

จารุณี อิฏฐารมณ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย การมีส่วนร่วมในงานกับประสิทธิผลของหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชีวิน อ่อนละออ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธิติมา ไชยมงคล. (2559). เอกสารประกอบการสอนทฤษฎีภาวะผู้นำและทฤษฎีการบริหาร. สืบค้นวันที่ 4 กันยายน 2559, จาก www.teacher.ssru.ac.th.

นิภา อำไพวรรณ, พูลสุข หิงคานนท์, และปกรณ์ ประจันบาน. (2554, กันยายน-ธันวาคม). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับการสร้างแรงจูงใจของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพุทธ ชินราช พิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 5(3), 65-79.

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2554, มกราคม-มีนาคม). บทบาทผู้นำองค์กรที่มีพนักงานวิชาชีพ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 31(1), 123-133.

ผ่องฉวี เพียรรู้จบ. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขต 6 (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรจันทร์ เทพพิทักษ์. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย ภาวะผู้ตามที่มีประสิทธิผลของพยาบาลประจำการกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลดาวัลย์ ปฐมชัยคุปต์, และบุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ภาษาในการจูงใจของหัวหน้าหอผู้ป่วย การทำงานเป็นทีมการพยาบาล ภาวะผู้ตามที่มีประสิทธิผลของพยาบาล ประจำการกับประสิทธิผลของ หอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 16(1), 24-33.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2547). ภาวะผู้นำ: จากทฤษฎีสู่ข้อเสนอตัวแบบหลักสูตรพัฒนาบุคลากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27(3), 40-52.

สุพัตรา วัชรเกตุ. (2558). ผู้นำ: ในยุคการเปลี่ยนแปลง. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 44-49.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. (2550). แผนยุทธศาสตร์ การบริการพยาบาล 2550-2552 กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินคาและพัสดุภัณฑ์.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectation. New York: The Free Press.

Bass, B.M, & Bruce, J.A. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. New York: The free press.

Bennis, W., & Nanus, B. (1985). Leader: The strategies for taking change. New York: Harper and Row.

Hughes, R. L., Ginnett, R. C., and Curphy, G. J. (2006) Leadership: Enhancing the lessons of experience (5th ed.). McGraw Hill: Singapore.

Hutchinsona, M., & Jacksonb, D. (2013). Transformational leadership in nursing: towards a more critical Interpretation. Nursing Inquiry, 20, 11-22.

Kelley, R. (1988). In praise of followers. Harvard Business Review, 66, 142-148.

Kellowaya, E. K., Turnerb, N., and Loughlin, C. (2012).Transformational leadership and employee psychological well-being: The mediating role of employee trust in leadership. Work & Stress, 26, 39-55.

Oncology Nursing Society. (2014). Oncology nursing society leadership competencies. Retrieved June 15, 2014, from https://www.ons.org/sites/default/files/leadershipcomps.pdf.

Thorne, M. (2013). Transformational leadership applied to nurse managers. (Thesis for the degree of Ph.D., Nursing science). USA: Walden University,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-21