ค่านิยมประชาธิปไตยของเยาวชนไทย: กรณีศึกษานักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ไอยธร เทพทอง นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • กนกกาญจน์ อนุแก่นทราย อาจารย์ที่ปรึกษาประจำหลักสูตร คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาส

คำสำคัญ:

ค่านิยมประชาธิปไตย, พลเมือง, เยาวชนไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่านิยมประชาธิปไตยของเยาวชนไทย กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2559 อายุระหว่าง 14-18 ปี จำนวน 1,328 คน การวิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม สัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการกับผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการนักเรียน จำนวน 41 คน และเลือกสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบค่านิยมประชาธิปไตยเยาวชนไทยที่พึงประสงค์ดังนี้ (1) ยอมรับความแตกต่างทางเพศ (2) ความไว้วางใจและเชื่อมั่นผู้อื่น (3) ติดตามข่าวสาร (4) มีน้ำใจและจิตสาธารณะ และ (5) รักชาติและภูมิใจในความเป็นชาติ ค่านิยมประชาธิปไตยของเยาวชนไทยที่ไม่พึงประสงค์และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย พบดังต่อไปนี้ (1) ความสัมพันธ์อำนาจแนวดิ่ง (2) คำนึงผลตอบแทน (3) ให้คุณค่าต่อวัตถุนิยม และ (4) ขาดระเบียบวินัยและไม่เคารพกฎหมาย

References

คะนอง พิลุน, จุฬาภรณ์ ศิลาอาสน์, เบญจพร ประจง, และวงธรรม สรณะ. (2554). การศึกษาระดับของค่านิยมประชาธิปไตยของนักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) (น. 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2524). จิตวิทยาจริยและจิตวิทยาภาษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ทิพาพร พิมพิสุทธิ์. (2531). ทฤษฎีการสร้างความทันสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิยม รัฐอมฤต. (2553). การปกครองระบอบประชาธิปไตยในนานาประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

พนัส หันนาคินทร์. (2521). การสอนค่านิยม (พิมพ์ครั้งที่2). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพบูรย์ วัฒนศิริธรรม, และสังคม สัญจร. (2543). สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ยุทธพงศ์ วงวณิช. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง: กรณีพฤติกรรมการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) (น. 19-21). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2550). การสำรวจค่านิยมประชาธิปไตยและค่านิยมของเยาวชน. สืบค้น 6 ธันวาคม 2558, จาก https://kpi.ac.th/media/pdf/M8_83.pdf

สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระพัฒนาที่ 4: ระบบค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม เพื่อความเป็นพลเมืองที่ดีและมนุษย์ที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2558, จาก https://www.nesdb.go.th/more_news.php?cid=75

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สำรวจความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากร พ.ศ. 2558 จังหวัดนนทบุรี. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2558, จาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/skillDev/skillDev58/skillDevRep58.pdf

สุนทรี โคมิน, และสนิท สมัครการ. (2522). รายงานการวิจัยเรื่องค่านิยมและระบบค่านิยมไทย: เครื่องมือในการวัดและสำรวจ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

แสงสุรีย์ คนศิลป์. (2519). ความสำนึกในหน้าที่พลเมือง ลักษณะอคติทั่วไปและความเคร่งครัดของนักเรียนวัยรุ่นในภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) (น. 26-28). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์. (2531). การศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับจริยธรรม ค่านิยม ประเพณี และวัฒนธรรมของครอบครัวไทยที่มีผลต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตร: ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เออเจนี เมริโอ. (2557). ความหมายของความเป็นพลเมือง ใน ถวิลวดี บุรีกุล, เออเจนี เมริโอ และ รัชวดี แสงมหะหมัด, (บ.ก.), พลเมืองไทย: การสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (น. 9-50). กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์.

Thomson, S. (2017). Everything you thought you knew about millennials is wrong. World Economic Forum. Retrieved September 11, 2017, from https://www.weforum.org/agenda/2017/01/everything-you-thought-you-knew-about-millennials-is-wrong

Thomson, S. (2017). Millennials aren't lazy - they're workaholics. World Economic Forum. Retrieved September 11, 2017, from https://www.weforum.org/agenda/2016/08/new-study-finds-millennials-aren-t-lazy-they-re-workaholics

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-21