ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้งานระบบบริการพร้อมเพย์ของผู้บริโภคชาวไทย

ผู้แต่ง

  • ศิวะ ทิพศิลา นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ลีลา เตี้ยงสูงเนิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์และปริญญาเอก รองคณบดีฝ่ายหลักสูตรและเครือข่ายนานาชาติ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุรวี ศุนาลัย อาจารย์ประจำและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • เหลียง ฉาน อาจารย์ประจำ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ความตั้งใจใช้งานระบบบริการพร้อมเพย์, ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง, ปัจจัยประสบการณ์, ธุรกรรมออนไลน์, การซื้อสินค้าออนไลน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความตั้งใจที่จะใช้งานระบบบริการพร้อมเพย์ของผู้บริโภคชาวไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงของการทำธุรกรรมออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานระบบบริการ พร้อมเพย์ของผู้บริโภคชาวไทย และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยประสบการณ์จากการซื้อสินค้าออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานระบบบริการพร้อมเพย์ของผู้บริโภคชาวไทย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จากตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยที่ยังไม่ได้สมัครใช้งานระบบพร้อมเพย์และมีประสบการณ์ซื้อสินค้าออนไลน์จำนวน 320 คน จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทำการทดสอบสมมติฐานด้วยเทคนิคถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ความเสี่ยงของการทำธุรกรรมออนไลน์ ด้านการเสียเวลาและด้านสังคมมีอิทธิพลเชิงลบต่อความตั้งใจใช้งานระบบบริการพร้อมเพย์ของผู้บริโภคชาวไทย ในทางตรงกันข้ามประสบการณ์จากการซื้อสินค้าออนไลน์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจใช้งานระบบบริการพร้อมเพย์ของผู้บริโภคชาวไทย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

เกริดา โครตชารี. (2555). ปัจจัยนำของการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมการปกครอง. (2561). ประกาศจำนวนประชากรปี พ.ศ. 2560. สืบค้น 12 ตุลาคม 2561, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat60.html

ชลิตา ศรีนวล, และปิยนุช พละเยี่ยม. (2561). ความตั้งใจใช้บริการทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 2 มีนาคม 2562, จาก https://tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/162377

ชวิศา พุ่มดนตรี. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้บริการพร้อมเพย์ (PromptPay) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณิชภัค อโนทิพย์. (2556). การศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์บนเว็บ Facebook (การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ธัญนันท์ วรเศษฐพงษ์. (2558). ความไว้วางใจในธุรกิจ E-COMMERCE ของบริษัท LAZADA (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). UPDATE กระแสพร้อมเพย์. สืบค้น 20 กันยายน 2561, จาก https://www.facebook.com/bankofthailandofficial/photos/a.280178205664947.1073741828.272704976412270/584259815256783/

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). รายงานระบบการชำระเงินประจำปี. สืบค้น 12 ตุลาคม 2561, จาก https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/Publication/PS_Annually_Report/AnnualReport/Payment_2016_T.pdf

มาร์เก็ตเธียร์. (2562). 5 พฤติกรรมผู้บริโภคปลายปี 2018 ถึงต้นปี 2019. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://marketeeronline.co/archives/84118

ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ. (2559). โครงการที่ 1 ระบบรับและโอนเงินพร้อมเพย์. สืบค้น 5 สิงหาคม 2561 จาก https://www.epayment.go.th/home/app/

รชตพงศ สุขสงวน. (2558). FinTech เรื่องไม่ฟินของกลุ่มธนาคาร. สืบค้น 10 ตุลาคม 2561, จาก https://sme.ktb.co.th/sme/productListAction.action?command=getDetail&cateMenu=KNOWLEDGE&cateId=37&itemId=94

อภิษฎา เนตรเทอคอด. (2562). 5 แนวโน้มการตลาดโซเชียลมีเดียในปี 2019. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://vsharecontent.com/2019/01/29/5-social-emedia-trends-2019/

Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Cunningham, L. F., Gerlach, J. H., Harper, M.D., & Young, C. E. (2005). Perceived risk and the consumer buying process: Internet airline reservations. International Journal of Service Industry Management, 16(4), 357-372.

Dev, C. S. (2015). 7 Ways that e-learning can improve your learning. Retrieved March 12, 2019, from https://elearningindustry.com/7-ways-elearning-can-improve-learning

DeVellis, R.F. (2012). Scale development: Theory and applications. Los Angeles: Sage. pp. 109–110.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: An introduction to theory and research. Reading, MA: Addison-Wesley.

Hair, J. F. Jr., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (2014). Multivariate data analysis (7th ed). New York: Macmillan.

Jacoby, J., & Kaplan, L. B. (1972). The components of perceived risk. Advances in consumer research, 118, 1-19. Retrieved September 5, 2018, form https://www.researchgate.net/publication/247814928

Jureviciene, D., & Skvarciany, V. (2017). Factors influencing customer trust in mobile in mobile banking: Case of Latvia. Economics and Culture, 14(2), 69-74. doi: 10.1515/jec-2017-0019

Macdonald, S. (2018). 7 ways to create a great customer experience strategy. Retrieved October 17, 2018, from https://www.superoffice.com/blog/customer-experience-strategy/

Mamman, H., Maidawa, M., & Saleh, M. (2015). Effects of perceived risk on online shopping. In Proceeding of the 1st management, technology and development conference. Nigeria: University Bauchi.

Nguyen, T. D., & Nguyen, T. C. (2017, September). The role of perceived risk on intention to use online banking in Vietnam. In 2017 International Conference on Advances in Computing, Communications and Informatics (ICACCI), (pp. 1903-1908). IEEE.

Perotti, V., Sorce, P., & Widrick, S. (2003). An exploratory study of operant conditioning theory as a predictor of online product selection. Journal of Electronic Commerce in Organizations (JECO), 1(1), 42-54.

Ramkuma, B., & Woo, H. (2018). Modeling consumer’ intention to use fashion and beauty subscription-based online services (SOS). Springer Open, 5(22), 4-5. doi: 10.1186/s40691-018-0137-1

Rogers, E. M. (1983). A model of the innovation-decision process (3rd ed.). New York: Division of Macmillan Publishing Co., Inc.

Wyzant. (2018). Statistic and probability. Retrieved July 28, 2018, from https://www.wyzant.com/resources/lessons/math/statistics_and_probability/introduction/data

Zeng, L., Favier, M., Huang, P., & Coat, F. (2012). Chinese consumer perceived risk and risk relievers in E-shopping for clothing. Journal of Electronic Commerce Research, 13(3), pp. 256 -257.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-21