ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประกอบธุรกิจออนไลน์: กรณีศึกษาของธุรกิจความงามและสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ปวริศา จันทร์อุดม วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ

คำสำคัญ:

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, ธุรกิจออนไลน์, ธุรกิจความงามและธุรกิจสุขภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประกอบธุรกิจออนไลน์ และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประกอบธุรกิจออนไลน์ของผู้ประกอบการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และประเภทธุรกิจ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ (Online Survey) จากตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการออนไลน์ เฉพาะธุรกิจความงามและสุขภาพ จำนวน 400 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา โดยใช้ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้เทคนิค t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน Analysis of Variance (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประกอบธุรกิจออนไลน์ที่สำคัญที่สุด คือ ด้านความจงรักภักดีของผู้บริโภค รองลงมาคือ ด้านความพึงพอใจ ด้านความไว้วางใจ ด้านบริการหลังการขาย และด้านชื่อเสียง ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ประกอบการออนไลน์ที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกันในภาพรวมและในรายด้าน 3 ด้าน คือ ด้านความจงรักภักดีของผู้บริโภค ด้านความไว้วางใจ และด้านความพึงพอใจ และพบว่า ผู้ประกอบการออนไลน์ที่มีประเภทธุรกิจแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกันในภาพรวมและในรายด้าน 2 ด้าน คือ ด้านชื่อเสียง และด้านความพึงพอใจ

References

กรุงไทย แอกซ่า อคาเดมี่. (2558). ความหมายการบริการหลังขาย. สืบค้น 14 กันยายน 2561, จาก https://fliphtml5.com/gtfg/rwep/basic.

จิดาภา สดสี. (2557). สื่อสังคมออนไลน์ ความรับผิดชอบต่อสังคมของลูกค้า และคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการคาเฟสำหรับคนรักแมวในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชุลีพร มาสเนตร. (2555). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการประกอบธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปพื้นบ้านของผู้ประกอบการในอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ). นราธิวาส: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ต่อตระกูล พิริยะพงษ์. (2558). ความหมายของInternet of Things. สืบค้น 17 กันยายน 2561, จาก https://tormootech.blogspot.com.

ณัฐพล ปะมี. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการซื้อสินค้าออนไลน์กับธุรกิจไฮเปอรมารเก็ต (Hypermarket) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธัญนันท์ วรเศรษฐพงษ์. (2558). ความไว้วางใจในธุรกิจ E-COMMERCE ของบริษัท LAZADA (ดุษฎีนิพนธ์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ปพน เลิศชาคร. (2559). คุณภาพของเว็บไซต์ ความไว้วางใจ การรับรู้ถึงคุณค่าและการจัดอันดับ และความคิดเห็นที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน eBay ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหาธุรกิจบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิศุทธิ์ อุปถัมภ์. (2556). ความไว้วางใจและลักษณะธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภานุวัฒน์ รัตนดิษฐ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจออนไลน์ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิทวัส เค้าคุณากร. (2553). การสร้างแบบจำลองพฤติกรรมผู้บริโภคแบบธุรกิจกับธุรกิจผ่านทางช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาดโดยการทำเหมืองข้อมูล (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีรภัทร ธูปพนม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์อีเบย์ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). ธุรกิจความงามและธุรกิจสุขภาพ. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/E-Commerce_E-Market-Place.pdf.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2559). อัตราการเติบโตของมูลค่าตลาด E-commerce. สืบค้น 5 กันยายน 2561, จาก https://thumbsup.in.th/2017/09/e-commerce-thailand-etda-2016-growth.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย. สืบค้น 1 ตุลาคม 2561, จาก https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-profile-2017.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24