กลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยชุมชนที่ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0

ผู้แต่ง

  • สมยศ เผือดจันทึก สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พิณสุดา สิริธรังศรี สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ไพฑูรย์ สินลารัตน์ สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหารจัดการ, วิทยาลัยชุมชน, เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ, ประเทศไทย 4.0

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบัน และ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยชุมชนที่ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยคือ วิทยาลัยชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้แก่ ตราด ตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา และนราธิวาส ผู้ให้ข้อมูลการวิจัยจำนวน 48 คน ประกอบด้วย ประธาน/รองประธานสภาวิทยาลัยชุมชนจังหวัด ผู้แทนชุมชน ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนจังหวัด เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและแผน ผู้ปกครองและนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสังเกต แบบสำรวจและการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการวิทยาลัยชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในปัจจุบัน มีปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยกลยุทธ์ใน 6 ด้าน คือ 1.1) ด้านการกำหนดนโยบายและแผน 1.2) ด้านโครงสร้างองค์กร 1.3) ด้านการบริหารงานบุคคล 1.4) ด้านการบริหารงบประมาณ 1.5) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และ 1.6) ด้านการบริหารจัดการเครือข่าย และ 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยชุมชนที่ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 มี 4 กลยุทธ์คือ กลยุทธ์ที่ 1) กลยุทธ์เพิ่มศักยภาพการสอนและการเรียนรู้ (SO Strategy) กลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์สร้างภูมิคุ้มกันด้านการวิจัย (ST Strategy) กลยุทธ์ที่ 3 กลยุทธ์การพัฒนาและเร่งรัดการใช้เทคโนโลยี (WO Strategy) และกลยุทธ์ที่ 4 กลยุทธ์การถ่ายโอนภารกิจให้เครือข่ายจัดการศึกษา (WT Strategy)

References

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาโครงการนำร่องการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนเพื่อสุขภาวะคนไทย. ใน การศึกษาฐานรากการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: แนวคิด สู่แนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: DPU Coolprint มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ทศพล ธีฆะพร, มานิตย์ ไชยกิจ, ชำนาญ ปาณาวงษ์, และสมคิด ฉายแวว. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหาร วิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15 (ฉบับพิเศษ), 54-68.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. หน้าที่ 1-90.

กฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันวิทยาลัยชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2559. (2559, 18 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนที่ 24 ก. หน้า 1-2.

พระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2558. (2558, 10 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 131 ตอนที่ 30 ก. หน้า 1-16.

สถาบันวิทยาลัยชุมชน. (2561). รายงานประจำปี 2561 สถาบันวิทยาลัยชุมชน. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). วิทยาลัยชุมชน: รูปแบบสถาบันอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา เล่มที่ 1/2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2558). คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. สืบค้น 9 กันยายน 2559, จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5198

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการ การศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. กรุงเทพฯ: เอส.ซี.พริ้นท์แอนแพค.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2548). Thailand Stand-Up. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

Boggs, G. R., & McPhail, C. J. (2016). Practical leadership in community colleges. New Jersey: John Wiley & Sons.

Cohen, A.M. (2009). Community colleges in the United States. In R.L. Raby & E.J. Valeau (Eds.), Community College Models (p. 39-48). California, USA: Springer.

Eddy, P. L. (2013). Managing today’s community college: A new era?. In J.S.Levin & S.T. Kater (Eds.), Understanding Community Colleges (p.121-134). New York, UK: Routledge.

Hubbard, G. (2000). Strategic management: Thinking analysis and action. NSW, Australia: Prentice Hall.

Kisker, C. B., & Kater, S. T. (2013). Deconstructing governance and expectations for the community college. In J.S. Levin, & S. T. Kater (Eds.), Understanding community colleges (p.1-18). New York, UK: Routledge.

Kolesnikova, N.A. (2010). Community colleges and economic mobility. In Federal reserve Bank of St.Louis Review. (January/Febuary), 92(1), 27-53.

National Student Clearinghouse Research Center. (2017). The role of community college in postsecondary success: Community college outcomes report. Retrieved April 30, 2019, from https://studentclearinghouse.info/onestop/wp-content/uploads/Comm-Colleges-Outcomes-Report.pdf.

Ma, J., & Baum, S. (2016). Trends in community colleges: Enrollment, prices, student debt, and completion. Retrieved April 30, 2019, from https://www.collegeboard.org.

Raby, R. L. (2009). Defining the community college model. In R.L. Raby & E. J. Valeau (Eds.), Community College Models (p. 3-19). California, USA: Springer.

Meier, K. (2013). Community college mission in historical perspective. In J.S. Levin & S.T. Kater (Eds.), Understanding Community Colleges (p.1-18). New York, UK: Routledge.

Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2012). Strategic management and business policy: Toward global sustainability (3rd ed.). New York: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30