การพัฒนาแบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • วรรณ์ดี แสงประทีปทอง สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทัศนีย์ ชาติไทย สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันสื่อ, แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนนทบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 200 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่พัฒนาในการวิจัยคือแบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้วิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ความตรง โดยวิเคราะห์ดัชนีความสอดคล้อง ความยาก โดยวิเคราะห์ด้วยสูตรอย่างง่าย อำนาจจำแนกโดยวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อและคะแนนรวมและความเที่ยง โดยใช้สูตรของคูเดอร์และริชาร์ดสัน 20 ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาแบบวัด ได้แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ ประกอบด้วยข้อคำถามแบบสถานการณ์ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าถึงสื่อ 8 ข้อ ด้านการวิเคราะห์สื่อ 8 ข้อ ด้านการประเมินสื่อ 7 ข้อ และด้านการสร้างสรรค์สื่อ 7 ข้อ (2) แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อมีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา โดยดัชนีความสอดคล้องมีค่า .67 ถึง 1.00 ความยาก .31 ถึง .80 อำนาจจำแนก .16 ถึง .58 โดยอำนาจจำแนกของข้อคำถามทุกข้อมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และความเที่ยง เท่ากับ .85

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จำเรียง ตันหยง. (2560). การพัฒนาแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปกรณ์ ประจันบาน, และอนุชา กอนพ่วง. (2558). การพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปวีณา มาแซะ. (2561). การพัฒนาแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรรณพิมล วิปุลากร. (2554). รู้เท่าทันสื่อแนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปิ่นโตพับลิชชิ่ง.

พรรณพิมล หล่อตระกลู. (2553). เฝ้าระวังและเท่าทันรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กประถมปลาย. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.

พรทิพย์ เย็นจะบก. (2552). ถอดรหัสลับความคิดเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ: คู่มือการเรียนรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.

รดี ธนารักษ์. (2558). การรู้เท่าทันสื่อ: ประโยชนแ์ละการนำไปใช้กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2561). แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(1), 1-10.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, บุญศรี พรหมมาพันธุ์, และสมคิด พรมจุ้ย. (2557). การสร้างเครื่องมือวิจัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สรัญญา จันทร์ชูสกุล, อจัศรา ประเสริฐสิน, และพนิดา วราสุนันท์. (2560). การพัฒนามาตรวัดการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556). รู้เท่าทันสื่อคืออะไร เรื่องน่ารู้เพื่อผู้บริโภค. สืบค้น 10 มกราคม 2559, จาก https://bep.nbtc.go.th.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.

อุษา บิ้กกิ้นส์. (2555). การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 26(80), 147-161.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30