การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านเว็บ สำหรับส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยในระดับประถมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, ทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านเว็บ, ทักษะการอ่านภาษาไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เนื้อหาและแบบฝึกการอ่านภาษาไทยในระดับประถมศึกษาตอนต้นโดยการเทียบเคียงกับเนื้อหาที่ปรากฏในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 2) พัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านเว็บฯ ตามเนื้อหาที่วิเคราะห์ได้ในข้อ 1 และ 3) ประเมินประสิทธิภาพของทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านเว็บฯ กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจงมี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาภาษาไทย และ 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 โรงเรียน รวม 68 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเตรียมการพัฒนา (2) ขั้นการออกแบบและพัฒนา และ (3) ขั้นประเมินการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินคุณภาพของเอกสาร 2) แบบประเมินคุณภาพด้านรูปแบบการนำเสนอและด้านเนื้อหา และ 3) แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนจากการทดลองใช้สื่อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) เอกสารเนื้อหาและแบบฝึกการอ่านภาษาไทยอยู่ในระดับดีมากและเหมาะสมสำหรับผู้เรียน 2) ทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านเว็บฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเมนูหลัก 7 รายการ และ 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ด้านรูปแบบการนำเสนอและด้านเนื้อหาของทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านเว็บฯ มีคุณภาพที่เหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก และด้านผู้เรียน พบว่าทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านเว็บฯ ช่วยส่งเสริมกระบวนการจำ การเชื่อมโยงความรู้เดิมกับข้อมูลใหม่ และสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีอิสระ อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ในการเรียนรู้อาจขึ้นอยู่กับความแตกต่างกันระหว่างบุคคลในการเรียน
References
กุณฑิกา พัชรชานนท์, และบัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2558). ปี 2558 ปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้. สืบค้น 20 มกราคม 2559, จาก https://www.moe.go.th/websm/2015/jan/015.html
ณัฐกร สงคราม. (2557). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2544). การสอนบนเว็บ =Web-Based Instruction นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์สาร, 28(1), 87 - 94.
นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2544). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 7(2), 61-73.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 1. (2558). รายงานการวิจัยนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุนและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องตามนโยบาย และกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (รายงานผลการวิจัย). พะเยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 1. (2559). เอกสารรายงานผลการทดสอบการอ่านออกเขียนได้ของปีการศึกษา 2559 ของกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลทางการศึกษา (รายงานผลการวิจัย). พะเยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 1.
อารีย์ ธรรมโคร่ง. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการบูรณาการเชิงเนื้อหาผ่านสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(1), 123-146.
Adam, L. P. (2015). Mnemonics in education: Current research and applications. American Psychological Association, 1(2), 130–139.
Eggen, P.D., & Kauchak, D.P. (2007). Educational psychology: Windows on classrooms. Upper Saddle River: Pearson Prentice Hall.
Frey, B. A., & Sutton, J. M. (2010). A model for developing multimedia learning projects. MERLOT Journal of Online Learning and Teaching, 6(2), 491-507.
Hadjerrouit, S. (2010). Developing web-based learning resources in school education: A user-centered approach. Interdisciplinary Journal of E-Learning and Learning Objects, 6, 115-135.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (2005). Participatory action research (3rd ed.). Thousand Oaks: SAGE.
Kwangmuang, P., Chajaroen, S., Samat, C., & Kanjak, I. (2012). Framework for development of cognitive innovation to enhance knowledge construction and memory process. Procedia Social and Behavioral Science, 46, 3409-3414.
Senge, P.M. (1994). The fifth discipline field book. New York: Doubleday.
Turnbull, A .P., Friesen, B. J., & Ramirez, C. (1998). Participatory action research as a model for conducting family research. The Journal of the Association for Persons with Sever Hadicaps, 23(3), 165-177.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น