การศึกษาทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มภาคใต้ตอนบน

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ศริกุล ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จตุพล ยงศร ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จักรกฤษณ์ โปณะทอง ภาควิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร, ทักษะการสื่อสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพปัจจุบันและสภาพความคาดหวังของทักษะภาษาไทยเพื่อ การสื่อสารสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มภาคใต้ตอนบน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มภาคใต้ตอนบน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินสภาพปัจจุบันและสภาพความคาดหวังของทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มภาคใต้ตอนบน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลด้วยค่า Modified Priority Needs Index: PNIModified ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นของทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มภาคใต้ตอนบน เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ทักษะการพูด (PNI = .49) รองลงมาคือ ทักษะการเขียน (PNI = .46) ทักษะการฟังและทักษะการอ่าน (PNI = .42) ตามลำดับ

References

กิตติชัย พินโน, และอมรชัย คหกิจโกศล. (2554). ภาษากับการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กุณฑิกา ชาพมิล. (2560). การเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในระดับอุดมศึกษา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(1), 47-60.

คมชัดลึก. (2559). วันภาษาไทย 59 สารพัดเปลี่ยนแปลงพาใช้ภาษาไม่ถูกต้องขาดความงดงาม. สืบค้น 15 กันยายน 2560, จาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/235367

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. (2555). การศึกษาความเข้าใจการฟังภาษาไทยของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2556). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐิติรัตน์ ลดาวัลย์. (2538). การฟัง. กรุงเทพฯ: เอกสารประกอบการศึกษาวิชาการใช้ภาษาไทย.

ณรงคฤทธิ์ ศักดารณรงค์. (2537). การเขียนสร้างสรรค์. วารสารวิทยาจารย์, 9(2), 50.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

นิตยา กาญจนะวรรณ. (2547). ปัญหาการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นพดล กรรณิกา. (2560). โพลชี้คนไทยสับสนตัวอักษร ฎ-ฏ แถมใช้ภาษาผิดเพียบ. สืบค้น 10 กันยายน 2560, จาก https://news.sanook.com/807232/.

ปราโมทย์ ชูเดช. (2548). การสร้างแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 9(17), 36-45.

มตชินออนไลน์. (2559). วธ.เผยผลสำรวจวันภาษาไทยแห่งชาติ สวนดุสิตโพลชี้คนไทยมีปัญหา ‘พูด-เขียน’ มากที่สุด. สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.matichon.co.th/education/news_228272

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. (2561). ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2561, จาก https://www.stou.ac.th/offices/Oes/Oespage/Guide/article/n10.html.

แมนพาวเวอร์ไทยแลนด์. (2561). ทักษะที่ต้องการสำหรับเด็กจบใหม่ให้โดดเด่นในองค์กร. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2561, จาก https://www.manpowerthailand.com/tris/content/detail/382.

วันชัย แก้วหนูนวล, และภัสร์ธีรา ฉลองเดช. (2561). ลักษณะข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาไทย: กรณีศึกษาการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 1-11.

วรมน ลิ้มมณี. (2544). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ศิริวรรณ เสนา. (2541). การศึกษาคุณลักษณะของเนื้อความสำหรับฝึกคัดลายมือที่ส่งผลต่อพัฒนาการด้านลายมือ และความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.การประถมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2540). การอ่านเพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.

สนิท สัตโยภาส. (2542). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสืบค้น. โครงการตำราวิชาการราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

สุวิมล ติรกานันท์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรัตน์ ศรีราษฎร์ และคณะ. (2542). การใช้ภาษาไทย 1. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมบัติ จำปาเงิน, และสำเนียง มณีกาญจน์. (2531). หลักนักเขียน. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล. (2546). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ. กรุงเทพฯ: วังอักษร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30