การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ระหว่างสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่งและสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพเคลื่อนไหวเรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
สื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่ง, สื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพเคลื่อนไหวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่ได้เรียนรู้โดยใช้สื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่งและสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพเคลื่อนไหวเพื่อการเรียนรู้เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่งและสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดลาดพร้าว ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดลาดพร้าว โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามเทคนิคการนำ เสนอสื่ออินโฟกราฟิกคือ สื่ออินโฟกราฟฟิกแบบภาพนิ่งและสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพเคลื่อนไหว จำนวนกลุ่มละ 75 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ อินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์โดยใช้หลัก t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้สื่ออินโฟกราฟิก แบบภาพนิ่งและสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพเคลื่อนไหวเรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนามีความแตกต่างกัน โดยนักเรียนที่เรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่งมีคะแนนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพเคลื่อนไหวที่ระดับ 0.05 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่ง และแบบภาพเคลื่อนไหวเรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนมีความพึงใจต่อสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพเคลื่อนไหวอยู่ในระดับมากที่สุดและสื่ออินโฟกราฟิกแบบ ภาพนิ่งนักเรียนที่เรียนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุลชัย กุลตวนิช. (2559). Motion graphic สื่อการเรียนรู้ยุค 4.0. สืบค้น 25 มีนาคม 2561, จาก https://www.kulachai.com
จงรัก เทศนา. (2555). การออกแบบอินโฟกราฟิกส์ : Infographics. สืบค้น 14 ตุลาคม 2561, จาก https://www.learningstudio.info/infographics-design
พัชรี เมืองมุสิก. (2557). การพัฒนาสื่อการสอนด้วยภาพอินโฟกราฟิกส์ผ่านระบบเครือข่ายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นภาวรรณ จินตชิน. (2556). การศึกษาการพัฒนาการเรียน โดยการฝึกกระบวนการคิดแบบบรูณาการ การสร้างสรรค์ผลงานด้วยทักษะการออกแบบโปสเตอร์โดยการใช้โปรแกรม infographic เรื่อง อาเซียนสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วิจัยในชั้นเรียน). สืบค้น 25 ตุลาคม 2560, จาก https://www.wattana.ac.th/vichakan/research/56/primary/social_studies10-56.pdf
ปาลิดา ศรีทาบุตร, และนฤมล อินทิรักษ์. (2559). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเรื่อง เพราะอะไรถึงอ้วน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภาสวัฒน์ เนตรสุวรรณ, และจิรพันธ์ุ ศรีสมพันธุ์. (2557). การพัฒนาสื่อโมชั่นกราฟิกเรื่องพื้นฐานคอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับหลักสูตรฝึกอบรมของบริษัท ที สแควร์ครีเอทีฟ จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิไลภรณ์ ศรีไพศาล. (2559). ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายด้วย Infographics. สืบค้น 25 ตุลาคม 2560, จาก https://www.pattani.go.th/stabundamrong
ศุภลักษณ์ จุเครือ. (2561). การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ Gifographic. สืบค้น 20 ตุลาคม 2561, จาก https://www.muit.mahidol.ac.th/muit_training/gifographic2018/Manual-Gifographic.pdf
สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2559). ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายด้วย Infographics. สืบค้น 25 ตุลาคม 2560, จาก https://www.pattani.go.th/stabundamrong.
สุดารัตน์ วงศ์คาพา. (2554). การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อรณรงค์แก้ปัญหาเด็กอ้วน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การเพิ่มประสิทธิภาพเทคนิคการนำเสนอรูปแบบ Infographics. สืบค้น 25 ตุลาคม 2560, จาก https://www.krumontree.com/pdf/InfographicManual.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น