ความรับผิดชอบต่อสังคมของชุมชนกลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วไทย

ผู้แต่ง

  • สยาม เศรษฐบุตร สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • พิศมัย จารุจิตติพันธ์ สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบต่อสังคม, ชุมชน, อุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและการยอมรับของประชาชน เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของชุมชนกลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วไทย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ทำการศึกษาคือประชาชนในชุมชนที่อาศัยในพื้นที่ที่เป็นเขตที่ตั้งอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วไทย จำนวน 78,024 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ เครจซี มอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 412 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนโดยส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ CSR ที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน การยอมรับของประชาชนเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า การยอมรับอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินการความรับผิดชอบต่อสังคม พบว่า การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก และพบว่า การยอมรับมีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับกับการมีส่วนร่วมของประชาชนพบว่า การยอมรับเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน การมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและความเต็มใจในการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). โครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2561, จาก https://www.industry.go.th/psd/joomlatools-files/docman-files/Action%20Plan%203%20years%20(2020%20-%202022)%20’s%20MOI%20(final).pdf

กัญญารัตน์ ชิระวานิชผล. (2009). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม กลยุทธ์ กิจการและผลประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. Chulalongkorn Business Review, 31(1-2), 21-35.

ตะวัน กาญจนะโกมล, และ พิศมัย จารุจิตติพันธ์. (2561). การมีส่วนร่วมสาธารณะในการบริหารเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(ฉบับพิเศษ). สิงหาคม – ตุลาคม, 63-77.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การมีส่วนร่วม: แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน). (2561). รายงานประจำปี 2561. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561, จาก https://www.bgc.co.th/investor/download/1_AnnualReport_20190917_084900_.pdf

พิศมัย จารุจิตติพันธ์, และ เกียรติชัย วีรญาณนนท์. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารเทศบาลเมือง. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(มกราคม – ธันวาคม), 146 – 169.

พนัชกร สิมะขจรบุญ, กฤษฎา พรประภา, และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2016). ศักยภาพการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ ของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศไทย. Chulalongkorn Business Review, 38(4), 33–67.

Bloom, B. A. (1956). Taxonomy of education objective handbook I: Cognitive domain. New York: David Mc Kay 0Company.

Carroll, A. B. (1991). The pyramid of corporate social responsibility: Toward the moral management of organizational stakeholders. Business Horizons, 39–48.

Gao, Y. (2011). CSR in an emerging country: A content analysis of CSR reports of listed companies. Baltic Journal of Management, 6, 263–291.

Ismail, M. (2009). Corporate social responsibility and its role in community development: An international perspective. Journal of International Social Research, 2(9), 199-209.

Krejcie, R. V.. & Morgan, D. E. (1970). Determining sample size for research activities. Journal Education and Psychological Measurement, 30(3), 608-609.

Singhapakdi, A., Lee, D.-J., Sirgy, M. J., & Senasu, K. (2015). The impact of incongruity between an organization’s CSR orientation and its employees’ CSR orientation on employees’ quality of work life. Journal of Business Research, 68(1), 60–66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-30