ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารในแนวดิ่งกับความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ

ผู้แต่ง

  • พรพรหม ชมงาม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

รูปแบบการสื่อสารในแนวดิ่ง, ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารในแนวดิ่งกับความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารในแนวดิ่ง ประกอบด้วยการสื่อสารจากบนลงล่างและการสื่อสารจากล่างขึ้นสู่บนกับความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานระดับผู้ปฏิบัติงานในองค์การเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 160 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารในแนวดิ่งกับความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ พบว่า การสื่อสารจากบนลงล่าง และการสื่อสารจากล่างขึ้นสู่บนมีความสัมพันธ์กับความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ด้วยเหตุว่า การสื่อสารทั้งสองประเภทมีความสำคัญทั้งในการให้ข้อมูลข่าวสารจากผู้บริหาร และรับฟังข้อมูลย้อนกลับจากพนักงาน ซึ่งส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์การเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านความศรัทธาและยอมรับในเป้าหมายและคุณค่าขององค์การ ความเต็มใจที่จะใช้พลังอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงานให้กับองค์การ และความปรารถนาที่จะยังคงความเป็นสมาชิกขององค์การ

References

พิรินทร์ชา สมานสินธุ์. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความผูกพันของพนักงาน: ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท เบสท์ เพอฟอร์แมนซ์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Aiken, M., Bacharach, S. B., & French, J. L. (1980). Organizational structure, work process, and proposal making in administrative bureaucracy. Academy of Management Journal, 23(4), 112-124.

Baven, R., & Bailey, J. (1991). Lesley’s handbook of public relations and communication. New York: McGraw-Hill.

Davis, K. (1972). Human behavior at work: Human relation and organization behavior (4th ed.). New York: McGraw-Hill.

Erdfelder, E., Faul, F., & Buchner, A. (2005). Power analysis for categories methods. In B. S. Everitt, & D. C. Howell (Eds.), Encyclopedia of Statistics in Behavioral Science. Chichester: Wiley.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.

Mowday, R. T., Steers, R. M., & Porter, L. W. (1979). The management of organizational commitment. Journal of Vocational Behavior, 14(2), 224-247.

Porter, D. E., & Applewhite, P. B. (1970). Studies in organizational behavior and management. Scranton, Pa. International Textbook Company.

Porter, L. W., Crampon, W. J., & Smith, F. J. (1976). Organizational commitment and managerial turnover: A longitudinal study. Organizational Behavior and Human Performance, 15(1), 87-98.

Smith, R. L., Richetto, G. M., & Zima, J. P. (1972). Organizational behavior: An approach to human communication. New York: McGraw-Hill.

Tompkins, P. K. (1967). Organization communication: A state-of-the-art review. In G. Richetto (Ed.), Conference on Organizational Communication (pp. 4-26). Huntsville, AL: National Aeronautics and Space Administration.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-30