อิทธิพลของจิตวิญญาณในการทำงาน และความผูกพันของพนักงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • จิรกฤต จินดาสวัสดิ์ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ญาณิศา ภัทรสิริรัชต์ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ณัฐนันท์ มนตรีพิศุทธิ์ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

คำสำคัญ:

จิตวิญญาณในการทำงาน, ความผูกพันของพนักงาน, ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับจิตวิญญาณในการทำงาน ความผูกพันของพนักงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของจิตวิญญาณในการทำงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของจิตวิญญาณในการทำงานที่มีต่อความผูกพันของพนักงาน 4) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของความผูกพันของพนักงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่พนักงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 366 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมพนักงานมีจิตวิญญาณในการทำงานในระดับมากที่สุด มีความผูกพันในระดับมาก และมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก จากผลการทดสอบโมเดลสมการโครงสร้างที่ปรับใหม่ พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า λ2 = 30.67, λ2/df = 1.917, df = 16, p-value = 0.074, GFI = 0.979, AGFI = 0.952, CFI = 0.973, RMR = 0.005, RMSEA = 0.050, NFI = 0.947 จิตวิญญาณในการทำงานมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 และมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อความผูกพันของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนความผูกพันของพนักงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.

ธมลวรรณ มีเหมย, รัตติกรณ์ จงวิศาล, และไฉไล ศักดิวรพงศ์. (2011). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้จิตวิญญาณในองค์การที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับต้นธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21, 447-455.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

Andrew, O.C., & Sofian, S. (2012). Individual factors & work outcomes of employee engagement. Procedia-Social & Behavioral Sciences, 40, 498-508.

Rego, A., & Cunha, M.P. (2008). Workplace spirituality & organizational commitment: An empirical study. Journal of Organizational Change Management, 21, 53-75.

Borman, W. C., & Motowidlo, S. J. (1993). Exploring the criterion domain to include elements of contextual performance. In Schmitt, N. and Borman, W. C. (eds.), Personnel Selection in Organizations (pp.71-98). San Francisco: Jossey-Bass.

Otieno, A. B., Waiganjo, W. E., & Njeru, A. (2015). Effect of employee engagement on organization performance in Kenya’s Horticultural sector. International Journal of Business Administration, 6(2), 77-85.

Dalal, R. S., Baysinger, M., Brummel, B. J., & LeBreton, J. M. (2012). The relative importance of employee engagement, other job attitudes & trait affect as predictors of job performance. Journal of Applied Social Psychology, 42, 295-325.

Duchon, D., & Plowman, D.A., (2005). Nurturing the spirit at work: Impact on work unit performance. The leadership quarterly, 16, 807-833.

Gallup. (2013). State of the global workplace. Washington DC: The Gallup Headquarters.

Hewitt, A. (2011). Trends in global employee engagement. Chicago: Consulting Talent & Organization.

International Survey Research. (2004). Engaged employees drive the bottom line. Retrieved December 1, 2018, from http://www.isrinsight.com/pdf/solutions/EngagementBrochureFinalUs.pdf

Jurkiewicz, C.L., & Giacalone, R.A. (2004). A values framework for measuring the impact of workplace spirituality on organizational performance. Journal of Business Ethics, 49(2), 129–142.

Mahipalan, M., & Sheena, M. (2018). Role of workplace spirituality and employee engagement in determining job satisfaction among secondary school teachers. Journal of Management Research,18(4), 211-225.

Markos, S., & Sridevi, M. S. (2010). Employee engagement: The key to improving performance. International Journal of Business & Management, 5(12), 89-96.

Milliman, J., Czaplewski, A. J., & Ferguson, J. (2003). Workplace spirituality and employee work attitudes: An exploratory empirical assessment. Journal of Organizational Change Management, 16(4), 426-447.

Owais, N., & Jamid, U. (2017). Enhancing organizational commitment and employee performance through employee engagement: An empirical check. South Asian Journal of Business Studies, 6(1), 98-114.

Petchsawang, P., & Duchon, D. (2012). Workplace spirituality, meditation, and work performance. Journal of Management, Spirituality & Religion, 9(2), 189-208.

Robbins, S.P., & Judge, T.A. (2007). Organizational behaviour (12th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Roof, R. A. (2015). The association of individual spirituality on employee engagement: The spirit at work. Journal of Business Ethics, 130(3), 585–599.

Saks, A. M. (2011). Workplace spirituality and employee engagement. Journal of Management, Spirituality & Religion, 8(4), 317–340.

Truss, C., Shantz, A., Soane, E., Alfes, K. & Delbrige, R. (2013). Employee engagement, organizational performance and individual well-being: Evidence, developing the theory. The International Journal of Human Resource Management, 24(14), 2657-2669.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-26