การวิเคราะห์ความไม่สอดคล้องของระดับการศึกษาและทักษะที่ต้องใช้ในการทำงาน: กรณีศึกษาของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

ผู้แต่ง

  • ดวงจันทร์ วรคามิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, ความไม่สอดคล้องของระดับการศึกษา, ความไม่สอดคล้อง ด้านทักษะการทำงาน, การอบรมเฉพาะทาง

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลการวิจัยเรื่อง ความไม่สอดคล้องของระดับการศึกษาของพนักงานบริษัท และทักษะที่ต้องใช้ในการทำงาน โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่สำรวจพนักงานบริษัท ในนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด จังหวัดระยอง จำนวน 226 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความไม่สอดคล้องของระดับศึกษาและ ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานมีผลทางลบต่อเงินเดือนที่เป็นตัวเงิน ซึ่งไม่รวมค่าตอบแทนอื่น ระดับ การศึกษาสูงเกินไปมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่การศึกษาต่ำเกินไปไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2) การฝึกอบรมภายในบริษัทให้กับพนักงาน เป็นเครื่องชี้ความไม่สอดคล้องกันของการศึกษาของ แรงงานและทักษะที่ใช้ในการทำงาน บริษัทมีความจำเป็นต้องลงทุนจัดให้มีการฝึกอบรมแก่พนักงาน

References

Allen, J., & Van de Velden, R. (2001). Educational mismatches versus skill mismatches: effects on wages, job satisfaction, and on-the-job search. Oxford Economic Papers, 53(3), 434-452.

Duncan, G., & Hoffman, S. (1981). The Incidence and wage effects of overeducation. Economics of Education Review, 1(1), 75-86. doi:http://dx.doi.org/10.1016/0272-7757(81)90028-5

Greene, W. (2008). Econometric Analysis (6th ed.). NJ: Prentice Hall.

Hartog, J. (2000). Over-education and earnings: where are we, where should we go? Economics of Education Review, 19(2), 131-147.

Mincer, J. (1974). Schooling, Experience, and Earnings. NY: National Bureau of Economic Research.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-28