รูปแบบการเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียน, ภาษาต่างประเทศ, รูปแบบการเรียนภาษาต่างประเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของรูปแบบการเรียนภาษา ต่างประเทศของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ของการใช้รูปแบบการเรียนภาษาต่างประเทศกับผลการเรียนภาษาของนักศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาอังกฤษภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จำนวน 155 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ที่ดัดแปลงจาก The Grasha-Riechmann Student Learning Styles Scale มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ANOVA ในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และ Chi-square Test เพื่อทดสอบความสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้รูปแบบการเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อยู่ในระดับปานกลาง
2. นักศึกษาที่เรียนภาษาต่างประเทศแตกต่างกัน คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาญี่ป่น มีการใช้รูปแบบการเรียนที่ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาในแต่ละรูปแบบการเรียน พบว่า นักศึกษาที่เรียน ภาษาต่างประเทศต่างกันมีการใช้รูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ พบว่า นักศึกษาที่เรียนสาขาภาษาอังกฤษจะใช้รูปแบบการเรียนแบบ มีส่วนร่วมมากกว่านักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
3.โดยภาพรวมการใช้รูปแบบการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนภาษา อย่างไรก็ตาม นักศึกษาที่มีผลการเรียนภาษาในระดับสูงจะใช้รูปแบบการเรียนแบบแข่งขันมากที่สุด ในขณะที่นักศึกษา ที่มีผลการเรียนภาษาในระดับต่ำจะใช้รูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมมากที่สุด
References
กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2551). รูปแบบการเรียนภาษาจีนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 19(3), 15-25.
กรรณิกา ประพันธ์ และคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ)เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1), 68 -78.
จิตรลดา บานเบ่ง. (2553). การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนครเหนือ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจและอุตสาหกรรม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนครเหนือ.
นิศากร เจริญดี. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีแบบการเรียนต่างกันโดยใช้บทเรียนบนเว็บวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนครเหนือ.
แพรวพรรณ พริ้งพร้อม. (2550). การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชั้นปีที่ 1 และ ชั้นปีที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
รวิวรรณ ผ่องศรีใส. (2550). ความตระหนักถึงความสามารถทางภาษาและความมั่นใจทางภาษาของมัคคุเทศก์ชาวไทยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วันดี วงศ์รัตนะ และ กุลฤดี จิตตยานันท์. (2556). รูปแบบการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. นครราชสีมา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช.
สุภา บุญพึ่ง. (2553). การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองที่ได้รับการจัดประสบการณ์การสอนแบบธรรมชาติกับแบบฮาร์ทส (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุวรรณี พันธุ์พรึกส์ และ ฌัลลิกา มหาพูนทอง. (2550). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 17(3), 66-72.
อุษณีย์ โพธิสุข. (2542). รายงานการวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านแนะแนวและจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Block, E. (1986). The Comprehension Strategies of Second Language Readers. TESOL Quartery, 20, 163-494.
Browns, D. (2000). Principles of Language Learning and Teaching. 4th Ed. NY: Addison Wesley Longman.
Chamot, A.U. (2005). Language Learning Strategies Instruction: Current Issues and Research. Annual Review of Applied Linguistics. USA: Cambridge University Press.
Chermahini, S., Ghambari, A. & Ghambari, M. (2013). Learning Styles and Academic Performance of Students in English as a Second Language Class in Iran. Bulgaria. Journal of Science and Education Policy, 7(2).
Felder, R.M. (1993). Reaching the Second Tier: Learning and Teaching Styles in College Science Education. Journal College Science Teaching, 23(5), 286-290.
Grasha, A. & Reichmann, S. (1975). Workshop Handout on Learning Styles. Ohio: Faculty Resource, University of Cincinnati.
JilardiDamavandi, A., Mahyuddin, R., Elias, H., Mohd Dand, S. & Shabani, J. (2011). Academic Achievement of Students with Different Learning Styles, Tehran, Iran. Retrieved September 3, 2015, from www.researvhgate.net.
Jung,W.P., Shya,L.W., Ming-Hsia,H. & Ying-Tai,W. (2013). Learning Styles of Undergraduate and Graduate Physical Therapy Students in Taiwan. Procedia-social and Behavioral Sciences, 93(2013), 1254-1258.
Oxford, R., Crookall, D., & Cohen, A. (1990). Strategy Training for Language Learners: Six Situational Case Studies and a Training Model. Foreign language Annuals, 22(3), 197-216.
Oxford, R. (1989). Use of language learning strategies: A synthesis of studies with implications for strategy training. System, 17(2), 22-36.
Su, C.J. (2007). A Study of the Web-Aided Instruction and Learning Styles Affects Learners’ Learning Achievement: An Example for Social Field of Secondary School. (Graduate School of Education). Taoyuan: Chun-Yuan Christian University.
Warn, T.S. (2009). Students’ Learning Styles and Their Academic Achievement for Taxation Course-A Comparison Study, The 2nd International Conference of Teaching and Learning 2009. INTI. University College. Malaysia.
Weaver, S.J. & Cohen, A. (1998). Making Strategy Training a Reality in the Foreign Language Curriculum. Strategies in Learning and Using a Second Language. New York: Adison Wesley Longman.
Wenden, A. & Rubin, J. (1987). Learner Strategies in Language Learning. London: Prentice Hall.
Wessel, J., Loomis, J., Rennie, S., Brook, P., Hoddinott, J. & Ahene, M. (1999). Learning Styles and Perceived Problem-Solving Ability of Students in a Baccalaureate Physiotherapy Programme. Physiotherapy Theory and Practice: An International Journey of Physiotherapy. 15(1).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น