กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของ โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การพัฒนาคุณภาพ, การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และเพื่อกำหนด กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย การวิจัยเป็นแบบผสม (Mixed Methods Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ตามวิธีดำเนินการวิจัยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนภาษาจีน จาก 66 โรงเรียน จำนวน 130 คนของโรงเรียนห้องเรียนขงจื่อ และโรงเรียนเครือข่าย โรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโรงเรียนเครือข่าย ผลการวิจัย พบว่า สภาพการจัดการเรียน การสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทยมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมากคือด้าน หลักสูตรการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการ ด้านครูผู้สอน ด้านผู้เรียน ส่วนด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่ พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียน การสอน ส่วนด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอน และด้านความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศมีสภาพที่พึง ประสงค์อยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการจำเป็นพบว่า ด้านความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศมี ความต้องการจำเป็นมากที่สุด กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายใน ประเทศไทย ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 มุ่งพัฒนาระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน ภาษาจีนให้มีคุณภาพสู่การเป็นผู้นูำในเวทีโลก กลยุทธ์ที่ 2 ทุ่มเทและผลักดันปัจจัยหลักในการจัดการเรียนการสอน ภาษาจีนสู่ความเป็นเลิศ กลยุทธ์ที่ 3 สร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนทั้งใน และต่างประเทศ
References
จตุพร สังขวรรณ. (2557). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ [Strategic Leadership]. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฐพล ลีลาวัฒนานันท์. (2555). กลยุทธ์คืออะไร. สืบค้น 20 ธันวาคม 2558, จาก http//: www.Boc.dip.go.th/index.php? Option=com _content&view=article&id=344 &Itemid=14
นวลอนงค์ บุญฤทธิพงศ์. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง จำกัด.
ประพิณ มโนมัยวิบูลย์. (2550). พัฒนาการของการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. วารสารอักษรศาสตร์, 36(2), หน้า 64-82.
ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย: ระดับประถม-มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์-การพิมพ์.
สมชาย ภคภาสวิวัฒน์. (2552). การบริหารเชิงกลยุทธ์: คัมภีร์สู่ความเป็นเลิศในการบริหารการจัดการ. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิซชิ่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยภาพรวม. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
เอกชัย บุญญาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น