ปัจจัยความสำเร็จการใช้ระบบ SAP ของพนักงานบัญชี ในบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศิริเดช คำสุพรหม วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ธาริน พองชัยภูมิ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • เปรมวดี กระตุฤกษ์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จด้านบุคลากร, ปัจจัยความสำเร็จด้านองค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการใช้ระบบ SAP โมดูล FI ของ พนักงานบัญชีในบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยทั้งนี้ SAP FI คือระบบบัญชีการเงินของระบบปฏิบัติการทรัพยากรองค์กรโดยรวมที่ประกอบด้วย ส่วนประกอบย่อยๆ ได้แก่ ระบบบัญชีแยกประเภท ระบบบัญชีลูกหนี้และเจ้าหนี้ ระบบบัญชีทรัพย์สิน ระบบบัญชีธนาคาร ระบบการจัดการค่าใช้จ่ายเดินทาง ระบบจัดการการลงทุน และระบบกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชี ซึ่งงานวิจัยนี้ใช้แนวคิดและทฤษฎีรูปแบบความสำเร็จทางระบบสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 380 คน ซึ่งมีเพียง 191 ชุด ได้รับตอบกลับและ มีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป

งานวิจัยนี้ใช้สถิติการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า พนักงานบัญชีส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณภาพของระบบมากที่สุด สำหรับปัจจัยด้านผู้ใช้งาน ปัจจัยด้านที่ปรึกษา และปัจจัยด้านองค์กรนั้นเป็นความสำคัญรองลงมาตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจัยทั้ง 4 ด้านดังกล่าวยังมีอิทธิพลเชิงบวกกับปัจจัยความสำเร็จด้านบุคลากรและด้าน องค์กรอีกด้วยทั้งนี้ ปัจจัยด้านคุณภาพระบบมีอิทธิพลเชิงบวกมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านที่ปรึกษา และปัจจัยด้านผู้ใช้งาน ตามลำดับ

References

เขมวันต์ ปิติวีรารัตน์, สินีรัชต์ พวังคะพินธุ์ และดร.อรพรรณ คงมาลัย. (2553, กรกฎาคม-กันยายน). ปัจจัยด้านกลยุทธ์ต่อความสำเร็จการประยุกต์ใช้ SAP กรณีศึกษา การประปานครหลวง. จุฬาลงกรณ์วารสาร 22(88), 31-38

ธานินทร์ ศิลปจำรุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ. ห้างห้นุ สว่ นสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี

ประพจน์ สุขมานนท์. (2545, กรกฎาคม). SAP คำตอบพื้นฐานของระบบ ERP. LEADER, 161

ประพจน์ สุขมานนท์. (2547). SAP R/3: ABAP Programming. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด

พงศ์พิไล วงศ์เจริญ. (2549). ความพึงพอใจของการนำ SAP มาประยุกต์ใช้ในมุมมองของนักบัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พยัต วุฒิรงค์. (2550, เมษายน – มิถุนายน). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้และ The Competing Values Framework (CVF). จุฬาลงกรณ์วารสาร, 19 (75), 5-23.

ภานรินทร์ เพชรรุ่ง. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของพนักงานในการใช้ระบบ SAP Module FICO ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิตสาขาการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มานิตย์ เบ้าทอง. (2552). ความพึงพอใจในการนำ SAP มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ระวีวรรณ อัศวชัยพร. (2552). ความพึงพอใจในการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป SAP ECC 6.0 สำหรับระบบบริหารงานงบประมาณ พัสดุ การเงิน และบัญชีของ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัชนีพร เศรษฐสักโก, รศ ดร.. (2551). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง.

วาสนา วงค์สิทธิ์. (2543). การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SAP ของธนาคารออมสินสาขาเขต ภาค 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบัญชี). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วีระยุทธ์ กิตะพาณิชย์. (2554: พฤษภาคม – มิถุนายน). Smart Solutions, 38 (May-June, 2011) สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2554 จากhttp://www.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=category&sectionid=9&id=114&Itemid=185

อัญญารัตน์ ธนไพศาลกิจ . (2552). ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการติดตั้งระบบ SAP ในหน่วยงานภาครัฐ: มุมมองของฝ่ายลูกค้าและฝ่ายผู้ให้บริการติดตั้งระบบ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Deshpande, R., and Webster, F. E. (1989). Organizational Culture and marketing – Defining the research agenda. Journal of Marketing, 53(1), 3-15.

Holland, C. and Light, B. (2003). A Framework for Understanding Success and Failure in ERP System Implementation. Second-Wave ERP Systems. Chapter 7: 180-195.

Hong L. Y. (2009). Effects of Enterprise Resources Planning (ERP) Systems Adoption on Production Performance in Manufacturing Industry: Using A Multinational Plastic Manufacturing Company Implemented SAP R/3 as an Example. Taiwan: National Sun Yat-sen University.

Wang, E. T. G., and Chen, J. H. F. (2006). Effects of internal support and consultant quality on the consulting process and ERP system quality. Decision Support Systems, 42, 1029-1041.

White, E. M., Anderson, J. C., Schroeder, R. G., and Tupy, S. E. (1982). A study of the MRP implementation process. Journal of Operations Management, 2, 145-153.

Yang X. (2009). Applying SAP ERP system in Business Processes, Case City of Tampere. UNIVERSITY OF APPLIED SCIENCES.

Yusuf, Y., Gunasekaran, A., and Abthorpe, M. K. (2004). Enterprise information systems project implementation: A case study of ERP in Rolls-Royce. International Journal of Production Economics, 87, 251-256

Zhang, L., and Li, Y. (2005). Probe into the way to implement ERP system in terms of systems theory in China. (Working paper). Beijing: Beijing Jiaotong University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-11