นโยบายสวัสดิการพนักงานกับแผนกลยุทธ์ทางภาษีในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภูนท สลัดทุกข์ สาขาการเมืองมหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สมิหรา จิตตลดากร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ศูนย์วิจัยเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและด้านล่างของสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

สวัสดิการพนักงานแบบพอเพียง, การทำ CSR ในสวัสดิการพนักงานการบริหารภาษีเงินได้ของ นิติบุคคล Strategic Plan Taxation, การจ้างงานแบบยืดหยุ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เสนอการวิเคราะห์ระบบสวัสดิการพนักงานรูปแบบใหม่ที่อาจจะเรียกว่า “สวัสดิการพนักงานแบบพอเพียง”กล่าวคือเสนอให้บริษัทผู้จ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนให้พนักงานเพื่อ เป็นสวัสดิการในการจ้างงานภายใต้บริษัทประกันชีวิตรับภารกิจการบริหารเงินทุนจากการจ่ายเงินสมทบ เพื่อประโยชน์ของลูกจ้างพร้อมกับวิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลดีต่อทุกฝ่าย กล่าวคือ ก) บริษัท ผู้จ้างนำค่าเบี้ยประกันชีวิตหักค่าใช้จ่ายของนิติบุคคล ข) ลูกจ้างได้รับประโยชน์จากการประกันชีวิตและ เป็นหลักประกันทางสังคมโดยจะได้รับบำเหน็จบำนาญหลังการปลดเกษียณ ค) เบี้ยประกันชีวิตเหล่านั้นจะ เป็นผลตอบแทนของลูกจ้าง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการทดแทนการหักค่าใช้จ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล งานวิจัยนี้ใช้แนวทางเชิงคุณภาพ มีผลการวิจัยที่พิสูจน์ข้อสันนิษฐานประการสำคัญ คือ หนึ่ง ) ภาระภาษีของนิติบุคคลลดลง 15- 20% โดยที่กรมสรรพากรคาดการณ์ว่า สามารถจัดเก็บภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.8% สอง) การนำเทคนิคการวิเคราะห์นโยบายพบว่า เป็นที่น่าพอใจที่จะเผยแพร่ ข้อมูลและความรู้ต่อสาธารณะชนในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำทางการเมือง และพรรคการเมือง สามารถมีบทบาทสำคัญในการนำแนวคิดไปปฏิบัติ

References

กรมสรรพากร. (2552). โครงการบริหารรายได้อย่างถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของกรมสรรพากร. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

__________. (2559) ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ (เลขที่หนังสือ กค 0706/4227): ข้อกฎหมาย : มาตรา 42(13), มาตรา 65 ตรี (3), มาตรา 65 ตรี (13) (ระบบออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2559 จาก http://www.rd.go.th/publish/315.0.html

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2559). ศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียง. มติชนออนไลน์, คอลัมน์การเมือง (15 ต.ค.59). สืบค้น 8 กรกฏาคม 2559. จาก http://www.matichon.co.th/news/322579

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility Institute: CSRI), กรุงเทพฯ: บริษัท เมจิกเพรส จำกัด.

บรรพต ธนานุวัฒน์. (2556). ภาษีสวัสดิการสังคม ศึกษาเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีเงินได้เพื่อสวัสดิการสังคมด้านการประกันสุขภาพระหว่างประเทศไทย ประเทศแคนาดา และประเทศสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิเชษฐ์ สอนศิริ. (2553). การให้คุณค่ากับสวัสดิการพนักงานของบริษัทกรุงไทยการไฟฟ้าจำกัด. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ภูนท สลัดทุกข์. (2549) กลยุทธ์วางแผนบริหารภาษี Strategic Taxation. เอกสารประกอบการบรรยายการบริหารภาษีเงินได้นิติบุคคล. กรุงเทพฯ: นิธิการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2552). ทุนนิยมสร้างสรรค์ (Creative Capitalism), ธุรกิจกับสังคมและชุมชน. กรุงเทพฯ :หลักสูตรควบบริหารธุรกิจบัณฑิต. สืบค้น 8 กรกฏาคม 2559. จาก http://www.fringer.org/และhttp://learners.in.th/blogsustainablebusiness ภายใต้ลิขสิทธิ์ HCreativeCommonsAttributionNon-commercialShare Alike (bync-sa) Creative Capitalism

ไมเคิล คินสลีย์. (2553). ทุนนิยมสร้างสรรค์แปลจากหนังสือ: Creative Capitalism: A Conversation with Bill Gates, Warren Buffett, and Other Economic Leaders สฤณี อาชวานันทกุล (ผู้แปล), กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส.

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ และคณะ. (2553). ทางเลือกของสวัสดิการสำหรับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

วสันต์ เหลืองประภัสสร์. (2548). การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย: สองกระแสความคิดในการบริหารงานภาครัฐ ลูกค้าหรือพลเมือง. รัฐศาสตร์สาร, ปีที่ 26 ฉบับที่ 2, (น.35-86).

สถาบันไทยพัฒน์.(2554). Thai CSR Network มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฏาคม 2559. จาก http://www.thaicsr.com/2006/03/blog-post_20.html

สุเทพ พงษ์พิทักษ์. (2555). การบริหารจัดเก็บภาษีอากรโดยหลักการบริหารความเสี่ยง. สำนักมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.rukaccounting.com/news/325733/

สุพจน์ ทรายแก้ว. (2545). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทียนวัฒนา.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2543). ทบทวนการปฏิรูประบบสาธารณสุขในประเทศสิงคโปร์ (Review of Singaporean Health Care System Reform). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). ภารกิจร่วมของเอกชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม: CSR และ Social Enterprises กรุงเทพฯ: เอ็กเซลเลนท์ บิสเนสแมเนจเม้นท์ บจก.

อภิญญา มาประเสริฐ. (2558). การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2559. จากhttp://www.bangkok.go.th/training/page/sub/5280/Book-Briefing/0/info/6187

Anderson, James E. (1975). Public Policy Making. New York :Pager Publishers, Christopher Hood, A Public Management for All Seasons. Public Administration 69 (1991): 3-19. and “Contemporary Public Management: A New Global Paradigm” Public Policy and Administration 10: 2(1995): 104-117.

Dye, Thomas R. (1998). Understanding public policy (9th Ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Gruening, G. (1998). Origin and Theoretical Basis of the New Public Management (NPM), paper presented at the IPMN Conference in Salem/Oregon, June 1998.

Grieves, J. (2003). Strategic Human Resource Development. London: Sage.

Kingdon, J. W. (1984). Agendas, Alternatives, and Public Policies. Boston: Little, Brown

Nakamura, R. T., & Smallwood, F. (1980). The politics of policy implementation. New York: St. Martin’s Press.

Yamada. (2009). Private Health Insurance and Hospitalization under Japanese National Health Insurance, the Open Economics Journal V. 2, pp. 61-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-11