รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้จากสถานการณ์เสมือนจริงเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาอังกฤษและการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • สุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ไพฑูรย์ สินลารัตน์ วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอน, การเรียนรู้จากสถานการณ์เสมือนจริง, การรับรู้ความสามารถของตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้ การเรียนรู้จากสถานการณ์เสมือนจริงเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาอังกฤษและการรับรู้ความ สามารถของตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้จากสถานการณ์ เสมือนจริง เกิดจากการผสานแนวคิดการเรียนรู้จากสถานการณ์เสมือนจริงการช่วยเสริมต่อการเรียนรู้ และ การปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้น คือ ขั้นเข้าใจจุดประสงค์การเรียนรู้ ขั้นทบทวนตรวจสอบความรู้เดิม ขั้นเผชิญสถานการณ์เสมือนจริง ขั้นทำงานร่วมกัน ขั้นนำเสนอผลงานกลุ่ม และขั้นเรียนรู้ด้วย ตนเอง และ (4) การวัดและประเมินผล 2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนน ความสามารถภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียน การสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อ รูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากทุกด้าน

References

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณี พันธุ์พรึกส์, และฌัลลิกา มหาพูนทอง. (2550). การศึกษาความสามารถ ปัญหาและความต้องการในการใช้ ภาษาอังกฤษของนักศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 17(3), 66-72.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.

Beers, S. Z. (2011). Teaching 21st century skills: An ASCD action tool. Alexandria, Virginia: Association of Supervision and Curriculum Development.

Errington, E. P. (2010). Preparing graduates for the professions using scenario-based learning. Brisbane: Post Pressed.

Fisher, D., & Frey, N. (2014). Better learning through structured teaching: A framework for the gradual release of responsibility (2nd ed.). Alexandria, Virginia: Association of Supervision and Curriculum Development.

Hammond, J., & Gibbons, P. (2001). What is scaffolding? In J. Hammond (Ed.), Scaffolding: teaching and learning n language and literacy education (pp. 1-14). New Town, NSW: Primary English Teaching Association.

Johnson, H., Freedman, L., & Thomas, K. (2008). Building reading confidence in adolescents: Key elements that enhance proficiency. California: Corwin Press.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2011). Models of teaching (9th ed.). Boston, MA: Pearson Education Inc.

Mills, N., Pajares, F., & Herron, C. (2007). Self-efficacy of college intermediate French students: Relation to achievement and motivation. Language Learning, 57(3), 417-442.

Naidu, S. (2008). Situated learning designs for professional development: Fundamental principles and case studies. Retrieved March 21, 2016, from http://wikieducator.org/images/3/37/PID_784.pdf

Siritararatn, N. (2013). English self-efficacy beliefs of EFL low proficiency graduates students. Academic Journal of Interdisciplinary Studies, 2(3), 461-468.

Van der Heijden, K. (2002). The sixth sense: Accelerating organizational learning with scenarios. New York: John Wiley & Sons.

Van de Pol, J., Volman, M., & Beishuizen, J. (2010). Scaffolding in teacher-student interaction: A decade of research. Educational Psychology Review, 22(3), 271-296.

Wood, D., Bruner, J., & Ross, G. (1976). The role of tutoring in problem solving. Journal of Child Psychology and Psychiatry and Allied Disciplined, 17(2), 89-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-11