การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรช่างอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอน, ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร, ช่างอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน 2. ประเมิน ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรม เครื่องกล ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูป แบบการเรียนการสอน คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ใน การพัฒนาหลักสูตรช่างอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ แบบประเมินความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรช่าง อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่ อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการพัฒนาหลักสูตรช่างอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.85/83.15 2. ประสิทธิผล ของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า 2.1 นักศึกษามีความรู้ในการพัฒนาหลักสูตรช่างอุตสาหกรรมเชิง สร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2.2 นักศึกษามีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรช่างอุตสาหกรรม เชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.3 นักศึกษามีความ พึงพอใจต่อความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางช่างอุตสาหกรรมของชุมชนหลังใช้รูปแบบการเรียน การสอน อยู่ในระดับมาก
References
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. (2558). แผนยุทธศาสตร์พัฒนา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สุพรรณบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2558). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2551). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัทเดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นต์ จำกัด.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). กรอบคิดใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สาวิตรี โรจนะสมิต. (2547). มิติใหม่ของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 19,(2) (พฤษภาคม – สิงหาคม 2547), น. 1-9.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา พ.ศ.2548. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.
Christine, C.T., and Christine D.V. (1971). Practical Guide to Curriculum and Instrucation. New York: Parker Publishing
Fisher, R. (2005). Teaching Children to think. United Kingdom: Nelson Thornes,
Joyce, B. and Weil, M. (2009). Model of Teaching. Englewood Cliff, NJ: Prentice-Hall, 9
Kevin, O. (2009). E-learning: the answer is blended learning, Now what was the question again. from http://www.astd.org/astd/Publications/TD_Magazine/2009_pdf/76031017.htm.
Obanya, P. (2012). Transformational Pedagogy in Higher Education. 26 th Convocation Lecture of University of Calabar, Nigeria.
Ornstein,A.G. and Hunkins, F.P. (2004). Curriculum foundation, principles and issuses. New York: Pearson Education.
Williams, B. (2004). Self direction in a problem based learning program. Nurse Education Today. 24(4). 277-285.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 มหวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น