ธรรมโมโลยี-การตลาด: พุทธศาสนากับงานบริหารการตลาด

ผู้แต่ง

  • จรรย์จารี ธรรมา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักการตลาด, การบูรณาการทางพุทธศาสนา, นักการตลาด

บทคัดย่อ

ปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ว่า “จัดการศึกษาพุทธศาสนาบูรณาการ กับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม” เป็นแนวทางนำนิสิตให้ยึดถือปฏิบัติเป็นรูปธรรมตามความ ถนัดในหลายรูปแบบ ทว่ายังไม่เคยปรากฏว่ามีงานของการนำหลักพุทธศาสนามาบูรณาการกับหลักการ ตลาดอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ทางวิชาการหรือเป็นตำราการตลาดแบบ ใหม่แต่อย่างใด หากปรากฏว่ามีหลักธรรมหลายประการที่สามารถนำมาใช้อธิบายงานการตลาดได้ดี เช่น หลักจริต 6 หลักอายตนะ 6 และหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นต้น การบูรณาการนี้มิใช่การนำงานการตลาด ไปส่งเสริมเผยแผ่พุทธศาสนา แต่เป็นการนำหลักพระพุทธศาสนามาพิจารณาภายใต้กรอบความคิดของ หลักการตลาดโดยใช้หลักหรือทฤษฎีการตลาดเป็นตัวตั้งแล้วนำหลักธรรมมาเป็นตัวเสริมเพื่ออธิบายนี้ ถือเป็นบูรณาการประเภท “ธรรมวิทยาหรือธรรมโมโลยี-Dhammology” ตามหลักของพระพรหมบัณฑิต การบูรณาการสองศาสตร์นี้เข้าหากันน่าจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งในวงการการตลาดเพราะศาสตร์การตลาด จัดเป็นสายงานที่ต้องนำข้อมูลจำนวนมากสื่อต่อไปสู่สังคมผู้บริโภค หากสามารถนำหลักพุทธศาสนา “เข้าหา” นักการตลาดในเชิงรุก สามารถทำให้นักการตลาดสามารถใช้หลักธรรมมาบูรณาการเป็นเครื่องมือช่วย ทำงานการตลาด ภายใต้หลักการใหม่นี้ ที่ต่อไปจะใช้ชื่อว่า “ธรรมโมโลยี-การตลาด: Dhammology-Marketing” บูรณาการนี้ ไม่เพียงเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่สู่วงการการตลาด แต่ยังเป็นกุศโลบายอีกทางหนึ่ง ที่ช่วย เผยแผ่ธรรมมะเข้าสู่คนรุ่นใหม่ในรูปแบบที่เหมาะกับยุคและความต้องการ และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือ ในการแลกเปลี่ยนความรู้ในวิชาชีพการตลาดสู่โลกตะวันตกเพื่ออธิบายหลักธรรมในรูปแบบของหลัก การตลาด ตัวอย่างของบูรณาการนี้คือการวางแผนการตลาดด้วยหลักสัปปุริสธรรม 7 (Sappurisa-dhamma Marketing Plan Canvas) เป็นต้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). รายชื่อโรงเรียนวิถีพุทธ. สืบค้นวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 จาก http://www.vitheebuddha.com/main.php?url=allschool.

กูเกิลเสิร์ช. (2560). พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ. สืบค้นวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560, จาก https://www.google.co.th/webhp?sourceid=chrome-instant&ion=1&espv=2&ie=UTF

จรรย์จารี ธรรมา. (2560, พฤศจิกายน 3-5). การฝึกอบรมหลักสูตรการสร้างแบรนด์ในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยธรรมโมโลยีการตลาด. จัดงานโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556) การพัฒนานักศึกษาตามแนวไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา (รายงานผลการวิจัย). คณะวิทยาการจัดการ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ดนัย จันทร์เจ้าฉาย. (2552). กลยุทธ์น่านนํ้าสีขาว. กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี.

สม สุจีรา และ อโณทัย เนะ. (2558). พุทธะมาร์เก็ตติ้ง. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

ธัชสร บันดาลชัย. (2555). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธกับความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืนขององค์การ (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมจิตโต). (2552). วิธีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) และ ลอเรนส์ แวน เดน มิวเซนเบิร์ก. (2558). พระพุทธศาสนากับโลกธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

พระมหาหรรษา ธมมหาโส. (2557). พระพุทธศาสนาเข้ากับวิทยาการสมัยใหม่. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาหรรษา ธมมหาโส. (2555). พุทธวิพากษ์การตลาด. (บทความวิชาการพระพุทธศาสนากับการตลาด. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย). จาก http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent.

พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ). (2546). สถานการณ์และทิศทางของพระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน. สืบค้นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561, จาก http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=464&articlegroup_id=97

สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในข้าราชการ (สปร). (2560) พุทธวิธีในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561, จาก http://www.tia.co.th.

สายรุ้ง บุบผาพันธุ์. (2555). พุทธวิธีต้นแบบตลาดสีขาวในสังคมปัจจุบัน. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Schumacher, E. F. (2550). Small is beautiful. New York, USA: Kirkpatrick Sale.

Kotler, P. (2550). Marketing Management, Millennium Edition. New Jersey, USA: Pearson Custom Publishing

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-12