กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อข้าวญี่ปุ่นในร้านค้าสมัยใหม่จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พีรภาว์ ทวีสุข หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ตวงทอง อินทรพินทุวัฒน์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด, กระบวนการตัดสินใจซื้อ, ข้าวญี่ปุ่น, ร้านค้าสมัยใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิผลต่อกระบวนการ ตัดสินใจซื้อข้าวญี่ปุ่นในร้านค้าสมัยใหม่ เก็บตัวอย่างจากผู้บริโภคที่ซื้อข้าวสารญี่ปุ่นในร้านค้าสมัยใหม่ จำนวน 400 คน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ราคา และ ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวญี่ปุ่นโดยเฉพาะในขั้นตอนด้านการรับรู้ ความต้องการและพฤติกรรมภายหลังการซื้อ นอกจากนั้นยังพบว่า กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์และด้านช่องทางการจำหน่ายสินค้ามีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อข้าวญี่ปุ่นในขั้นตอน การค้นหาข้อมูลข่าวสารและด้านการประเมินผลทางเลือก

References

กรมการข้าว. (2559, เมษายน 17). กรมการข้าวส่งเสริมชาวนาภาคเหนือปลูกข้าวญี่ปุ่นเจาะตลาดอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.naewna.com/local/99457

กมลรัตน์ แสงจันทร์. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อข้าวหอมมะลิบรรจุถุงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระ. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสสิเนสอาร์แอนด์ดี.

นฤมล อดิเรกโชติกุล. (2548). พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อข้าวสารบรรจุถุงในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัชร์ศรัณย์ วิไลสาระนันท์. (2553). พฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวสารของคนกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์. ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรรณิภา ปักโคทานัง. (2551). คุณลักษณะของข้าวที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมการบริโภคข้าวสารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัฐพล คชเวช. (2556). คุณลักษณะที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อไข่เค็มไชยาของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ธุรกิจการเกษตร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิภาวดี ทองสุข. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวสารบรรจุถุงของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

สรียา อัชฌาสัย และลักคณา วรศิลป์ชัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวสารบรรจุถุงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 3(2). pp.22-37.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2550, เมษายน 20). ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น ปี 50. มองเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.kasikornresearch.com/TH/K-Econ Analysis/Pages/ViewSummary.aspx?docid=9057.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เพชรจรัส แสงธุรกิจ.

อัญมณี เย็นเปี่ยม. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์. ทรัพยากรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Cochran, W. G. (1997). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Etzel, M. J., Walker, B, J., & Stanton,W. J. (2007). Marketing. (14th ed). Edition. Boston: McGraw – Hill.

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Kotler, P. (2015). Marketing Management. (Global Edition). London: A Pearson Education Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-12