ความแตกต่างของคุณลักษณะของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมการตลาดบริการสินค้าแคตตาล็อคในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ส่วนประสมการตลาดบริการ, สินค้าแคตตาล็อค, ร้านสะดวกซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของคุณลักษณะของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมการตลาดบริการสินค้าแคตตาล็อคในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามในการ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี Games-Howell post hoc test
จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 395 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 53.7 มีอายุอยู่ระหว่าง 15 ถึง 25 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดคือมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,001 ถึง 15,000 บาท มีสถานภาพโสด และยังพบว่าส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านแคตตาล็อกในร้านสะดวกซื้อกรณีศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้ ความสำคัญกับกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดบริการทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับมากที่สุดตามลำดับดังนี้ (1) ระบบการแจ้งรับสินค้าที่มีความถูกต้องรวดเร็ว (2) การดูแลต้อนรับของพนักงานร้านที่มีความสุภาพและมีอัธยาศัยดี (3) การจัดโปรโมชั่นของสินค้าแคตตาล็อก เช่น การลดราคา การแจกของแถมเป็นประจำทุกเดือน (4) การสั่งซื้อสินค้าที่สามารถสั่งซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง และ (5) การที่สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ในทุกสาขาของร้านสะดวกซื้อ โดยทั้ง 5 ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่ ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด
จากการศึกษาวิจัยนี้พบว่า ผู้บริโภคที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันจะให้ความสำคัญต่อส่วนประสมการ ตลาดบริการของการซื้อสินค้าผ่านแคตตาล็อกในร้านสะดวกซื้อที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
ชนิกานต์ ทัศนกุลวงศ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเซเว่นแคตตาล็อกของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS.นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.
รจนา มะลิวัลย์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า 7-catalog ของผู้บริโภคในจังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร. (2560). ที่ตั้งและลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 16 มิถุนายน 2560, จาก http://203.155.220.230/m.info/nowbma/index.html
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักการตลาดบริษัทกรณีศึกษา, (2560). รายงานยอดขายสินค้ารายไตรมาส. กรุงเทพฯ
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ
Booms, B. & Bitner, M. J. (1981). Marketing Strategies and Organizational Structures for Service Firms. Marketing of Services. Chicago: American Marketing Association, pp. 47-51.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Grewal, D, and Levy, M. (2010). Marketing. New York: McGraw-Hill.
Kotler, P. and Keller, K. (2012). Marketing Management. New Jersey: Pearson.
McCarthy, J. (1960). Basic Marketing: A Managerial Approach. Irwin: Homewood. Retrived June, 1, 2017 from https://babel.hathitrust.org/cgi/pt?id=inu.30000041584743;view=1up;seq=2
Quester, P.G., McGuiggan, R.L., McCarthy, J., and Perreault, W.D. (2001). Basic Marketing: A Managerial Perspective. NSW: McGraw-Hill Australia.
Slama, M.E. and Tashchian, A. (1985). Selected Socioeconomic and Demographic Characteristics Associated with Purchasing Involvement. Journal of Marketing. 49(1), pp. 72-82
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น