ต้นทุนผลตอบแทนและดัชนีการค้าขายข้าวอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปิยะวิทย์ ทิพรส
  • พาชิตชนัต ศิริพานิช
  • เวทางค์ พ่วงทรัพย์

คำสำคัญ:

เกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์, ต้นทุน, ผลตอบแทน, ดัชนีการค้าขายในครัวเรือน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน ผลตอบแทนและดัชนีการค้าขายข้าวอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลจากตัวอย่างผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง กองตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าวกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 250 คน จากทั้งหมด 1,210 คน โดยใช้แผนการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้นพบว่าในภาพรวม เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย16,280.38 บาท/ไร่ ทั้งนี้แบ่งเป็นต้นทุนเงินสดเฉลี่ย 8,027.38 บาท/ไร่ (ร้อยละ 49.31 ของต้นทุนทั้งหมด) และต้นทุนที่ไม่ใช่เงินสดเฉลี่ย 8,253.00บาท/ไร่คิดเป็นร้อยละ 50.69 ของต้นทุนทั้งหมด ส่วนผลตอบแทนพบว่าได้ข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมด 7,350.20 กิโลกรัมต่อปีผลผลิตเฉลี่ย 517.62 กิโลกรัม/ไร่คงเหลือข้าวเปลือกไว้จำหน่าย (หลังเก็บไว้ทำพันธุ์และบริโภค) เฉลี่ย 5,555.29 กิโลกรัม/ปี ส่วนรายได้การจำหน่ายพบว่ามีรายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 13,261.42 บาท/ไร่ รายได้สุทธิเหนือต้นทุนผันแปร เงินสดเฉลี่ย 2.22 บาท/ไร่ รายได้สุทธิเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ย 1.23 บาท/ไร่ แต่เมื่อพิจารณา กำไรสุทธิพบว่าประสบปัญหาการขาดทุน (เฉลี่ย-3,021.91 บาท/ไร่) อัตราส่วนกำไรต่อต้นทุนทั้งหมดต่ำ (BCR 0.81) ในทางกลับกันพบว่ามีค่าดัชนีการค้าขายข้าวอินทรีย์ในครัวเรือนเท่ากับร้อยละ 75.58 ซึ่งถือว่ามีระดับการค้าขายสูง

References

กรมการข้าว. (2559). ข้อมูลภาคตัดขวางทะเบียนการรับรองการผลิตข้าวอินทรีย์ ปีการผลิต 2558. สืบค้นวันที่ 30 มิถุนายน2559, จาก http://dric.ricethailand.go.th/index.php/registration-is-organic-rice

กระทรวงพาณิชย์. (2558). แนวทางการส่งเสริมการตลาดข้าวอินทรีย์โอกาส: ความท้าทายของกระทรวงพาณิชย์รายงานประกอบการฝึกอบรมนักบริหารการพาณิชย์. ระดับกลาง รุ่นที่ 4/2558.

มาตรฐานสินค้าเกษตร. (มกษ. 9000 เล่ม 4 – 2553) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ เล่ม 4: ข้าวอินทรีย์ ตาม พรบ. มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานมาตรฐานสินค้าอาหารและเกษตรแห่งชาติ.

มติชนออนไลน์. (2561). ปลัดพาณิชย์เผยผลวิจัยคนไทยเริ่มไม่กินข้าวเฉลี่ยแค่ปีละ 106 กิโลกรัม. สืบค้น วันที่ 5 มีนาคม 2561, จาก https://www.matichon.co.th/news/49336.

รัตนาวงศ์ รัศมีเดือน. (2553). บัญชีเพื่อการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต.

วิฑูรย์ ปัญญากุล. (2559). ภาพรวมเกษตรอินทรีย์ไทย. 2559 สืบค้นวันที่. 21 ธันวาคม 2560, จาก http://www.greennet.or.th/article/411.

ศิรประภา ธงสุริยะ. (2558). การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินของการผลิตข้าวระหว่างวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม วิธีการผลิตแบบปลอดสารพิษ และวิธีการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดราชบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรชัย กังวล. (2560). ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวอินทรีย์และการวิเคราะห์เส้นทางที่มีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, (ฉบับพิเศษ), 200-207.

สุวรรณี อินทองแก้ว สิริรัตน์ เกียรติปฐมชัย และสุธัญญา ทองรักษ์ต้นทุนและผลตอบแทน. (2559). การผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์และข้าวสังข์หยดทั่วไปของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรเศรษฐศาสตร์การอาหารและธุรกิจการเกษตร ครั้งที่ 5 ประจำปี 2559, 44-56.

อัจฉรา กลิ่นจันทร์. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ (สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการเพชรบูรณ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏ: เพชรบูรณ์.

Ele, I. E., Omini, G. E., & Adinya, B. I. (2013). Assessing the extent of commercialization of smallholding farming households in cross river state, Nigeria. Journal of Agricultural and Veterinary Science, 4(2), 49-55.

Olufemi, F. O.,& Obi, A. (2017). Determinants of Commercialisation Level among Smallholder Maize Farmers in Eastern Cape, South Africa: A Case Study of Qamata and Tyefu Municipality. The Journal of Human Ecology, 58(3), 118-125.

Piya, S., Kiminani, A., & Yaki, H. (2012). Comparing the technical efficiency of rice farms in urban and rural areas: A case study from Nepal. Trends in Agricultural Economics, 5(2), 48-59.

Rahman, S., & Barmon, B. K. (2015). Productivity and efficiency impacts of urea deep placement technology in modern rice production: An empirical Analysis from Bangladesh. The Journal of Developing Areas, 49(3), 119-132

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15