การพัฒนาตัวบ่งชี้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ตัวบ่งชี้กระบวนการคิดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดล ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 421 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (Two-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยการตรวจสอบความกลมกลืนของ แบบจำลองเชิงทฤษฏีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ใช้และโปรแกรมสำเร็จรูปทำการวิเคราะห์แบบจำลองสมการ เชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานครมี 4 องค์ประกอบ 40 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการระบุประเด็น ประกอบด้วย 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 11 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ด้าน การตั้งสมมติฐานเพื่อการประเมิน ประกอบด้วย 10 ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบที่ 4 ด้านการตัดสินใจอย่าง สมเหตุสมผล ประกอบด้วย 10 ตัวบ่งชี้ 2) มีความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้กระบวนการคิดอย่างมี วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อทดสอบด้วยค่าไค-สแควร์
References
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2558). รายงานการดำเนินการของรัฐต่อสาธารณะรายปี ประจำปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพฯ: กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ฐากร สิทธิโชค. (2558). การคิดอย่างมีวิจารณญาณในกระบวนการเรียนรู้สังคมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 9(2), 87-101
ทิศนา แขมมณี (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้น.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). (2559, 30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133. ตอนที่ 155 ก. หน้า 1-215
ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2542). เอกสารประกอบการสอนวิชาบริหาร 300 การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มลิวัลย์ สมศักดิ์. (2540). รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารญาณของนักเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักการศึกษา (2558). รายงานสถิติการศึกษาปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558, จาก http://www.bangkokeducation.in.th/stat.php
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รายงานการวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาของ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
สุพรรณสิริ วัฑฒกานนท์. (2555). อย่างไร ... คือ การคิดอย่างมีวิจารณญาน. สืบค้นวันที่ 27 ธันวาคม 2559, จาก http://tujournals.tu.ac.th/thammasatjournal/detailart.aspx?ArticleID=51
สุเมตตา คงสง. (2553). การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. (ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. การศึกษาพิเศษบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อธิคุณ สินธนาปัญญา. (2559). จริยธรรมเด็กและเยาวชนเหยื่อของปัญหาสังคม. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 15(3), 17-24
Aiken, R. L. (2003). Psychological Testing and Assessment (11th ed). Boston: Allyn and Bacon.
Johnstone, J. N. (1981). Indicators to Education System. London: The Anchor Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น