การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจการจัดการคุณภาพองค์การกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ผู้แต่ง

  • สุรชัย ทุหมัด สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ประสพชัย พสุนนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ธีรวัฒน์ จันทึก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, การจัดการคุณภาพ, ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน, พนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการคุณภาพของมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ 2) ศึกษาปัจจัยองค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ครั้งนี้ คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ แห่งหนึ่ง จำนวน 300 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยศึกษาจาก 40 ตัวแปร พบว่า มีค่าสถิติไคเซอร์-ไมเยอร์-โอลคิน เท่ากับ 0.842 และค่าสถิติ ไค-สแควร์ที่ใช้ในการทดสอบเท่ากับ 7946.553 ทำการสกัดด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า การจัดการ คุณภาพองค์การมีองค์ประกอบทั้งหมด 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน 2) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 3) การสนับสนุนการปฏิบัติงาน 4) ทิศทางการปฏิบัติงาน 5) มาตรฐานการ ปฏิบัติงาน 6) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7) การรายงานผลการปฏิบัติงาน 8) สิ่งอำนวยความสะดวก 9) การทำงานเป็นทีม โดยองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน 2) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 3) ทิศทาง การปฏิบัติงาน และ 4) การรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามลำดับ

References

กฤษณ์กร วงศ์ไทย (บ.ก.). การยกระดับมาตรฐานการศึกษาไปสู่สากล(ตอนที่ 1). (2557, มกราคม). อนุสารอุดมศึกษา ประจำเดือนมกราคม, 12-13.

กฤษณ์กร วงศ์ไทย (บ.ก.). การยกระดับมาตรฐานการศึกษาไปสู่สากล(ตอนที่ 2). (2557, กุมภาพันธ์). อนุสารอุดมศึกษา ประจำเดือนกุมภาพันธ์, 16.

ขวัญชัย ภูมิวิวัฒน์ชัยการ. (2557). ระบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อผลของการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ(ย่านสีลม). (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

งานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. เอกสารายงานวิจัย ฝ่ายงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2560, จาก http://qa.pkru.ac.th.

ดวงใจ รักษากุล. (2545). แนวทางการพัฒนาระบบคุณภาพพื้นฐานของไทย (TFQS) ไปสู่ระบบบริหารคุณภาพโดยรวม(TQM). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทวินทร์ ประสิทธิ์เสริฐ. (2556). หลักการทำงานตามวงจรเดมิ่ง (The Deming Cycle) PDCA. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.cgpcenter.com/generalknowledges/pdca/pdca.html.

ธนกร กรวัชรเจริญ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงาน บริษัทควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน). (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.

ธีระดา ภิญโญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2550). ชุดฝึกอบรมเหนือตำรา: การทำวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยะฐานะ. (คณะศึกษาศาสตร์). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

น้ำฝน มงคลอ้อม. (2554). การจัดการผู้บริหารโดยรวมของผู้บริหารโรงเรียนในเครือพระแม่มารีเขตพระนคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เบญจมาส เจริญสุขพลอยผล และ รุ่งอรุณ สิงคลีประภา. (2556). การศึกษาผลการดำเนินการด้านมุ่งเน้นลูกค้าตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,10(2), 3-4.

ประชาภรณ์ ทัพโพธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการเวอร์ริเดียน อี เจอร์นอล, 7(2), 486.

พิทยา บวรวัฒนา. (2530). รัฐศาสตร์ ทฤษฎีและแนวการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2553). การพัฒนาองค์ประกอบของสมรรถภาพครูเทคโนโลยีสารสนเทศระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 15(11), 1105.

พลอยไพลิน นิลกรรณ์. (2552). ผลของการให้ผลย้อนกลับที่มีต่อการเรียนรู้ทักษะการตีลูกซอฟท์บอล. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัฐพล ศรีกตัญญู. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารธนชาต จำกัด(มหาชน) สำนักงานอาคารกลาสเฮ้าส์รัชดาภิเษก. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต) กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุชาฎา คล้ายมณี คนึงนิตย์ พงษ์สุวรรณ์ พรพักตร์ ชมกลาง และวัชรี อาภาธีรพงศ์. (2557). ผลการให้ข้อมูลย้อนกลับต่อการปฏิบัติ กิจกรรม 5ส หอพัก ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 20(1), 67.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมทีส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cummings, T. G. (2008). Handbook of Organization Development. Washington DC: SAGE Publication.

Cummings, T. G. and Worley C. G. (2008). Feeding Back Diagnostic Information. In Organization Development & Change (pp. 139-149). Canada: South-Western, Cengage Learning.

Dejanasz, S. C., Dowd, K. O.and Schneider, B. Z. (2002). Interpersonal Skill in Organization. New York: McGrawHill.

Jackson, S. E. and Schuler, R. S. (2003). Managing Human Resource Through Strategic Partnerships (8thed)., Ohio: Thomson/South-Western.

James, R. E. and James, W. D. (2003). Total Quality: Management, Organization, and Strategy. Harrisonburg: South-Western, Thomson Learning.

Kaiser, H. F. (1956). The Verimax Method of Factor Analysis. Unpublished doctoral desertation, University of California, Berkley.

Katz, D. and Khan, R. (1971). The Social Psychology Organization. New York: John Wiley & Sons.

Kelemen, M. L. (2003). Managing Quality. London: Publication.

Kotter, J. P. (1996). Leading Change. Massachusetts: Harvard Business School Press.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Maccallum, R. C., Widaman, K. F., Preacher, K. J., and Hong, S. (2001). Sample Size in Factor Analysis: The Role of Model Error. Multivariate Behavioral Research, 36(4), 611-637.

Murgatroy, S. and Morgan, C. (1993). Total Quality Management and The school. Buckingham: The Open University Press.

Pearson, R. H. and Mundform, D. J. (2010). Recommended Sample Size for Conducting Exploratory Factor Analysis on Dichotomous Data. Journal of Modern Applied Statistical Methods, 9(2), 359.

Prajogo, D. I. and Cooper, B. K. (2010). The Effect of People-Related TQM Practice on Job Satisfaction: A Hierarchical Model. Production Planing & Control, 21(1), 26-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15