ผลกระทบของการบริหารข้อมูลสมัยใหม่ที่มีต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การบริหารข้อมูลสมัยใหม่, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
ในการพัฒนาฐานข้อมูลขององค์กรให้มีประสิทธิภาพนั้นถือเป็นส่วนสำคัญที่องค์กรจะต้อง คำนึงถึงเพื่อเป็นการสร้างฐานการบริหารงานที่ดีให้องค์กรก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันและ ยังเป็นแรงกระตุ้นในการทำงานของผู้บริหารให้มีความมุ่งมั่นตลอดจนองค์กรมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนทำให้ ผลการดำเนินงานขององค์กรบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยผลกระทบของการบริหารข้อมูลสมัยใหม่ที่มีต่อความได้เปรียบทางการ แข่งขันของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยจำนวน 120 คนและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ t-test F-test (ANOVA และ MANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
โดยสรุปการบริหารข้อมูลสมัยใหม่มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน ดังนั้นผู้บริหารธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยควรให้ความสำคัญการวางแผน พัฒนาการดำเนินงานด้านการบริหารข้อมูลสมัยใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้องค์กรเกิดการพัฒนาโดยเฉพาะด้านความก้าวหน้าในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้บริหารที่มีความสามารถในการบริหารข้อมูลสมัยใหม่อย่างเต็มความสามารถจะสามารถนำองค์กร ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างประสิทธิภาพ และส่งผลให้องค์กรเกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
References
กรมพัฒนาการค้าธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์. (2558). วิธีทางสถิติสาหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
โกศล ดีศิลธรรม. (2554). การจัดการความรู้แห่งโลกธุรกิจใหม่. ปทุมธานี:ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
จีราภรณ์ สธัมมสภา. (2558). การจัดการสมัยใหม่. สิบค้น 20 พฤษภาคม 2560, จาก www.led.go.th
จรัส อติวิทยาภรณ์. (2553). กรมพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนอาชีวะศึกษาเอกชน. ดุษฏีนิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ
ไพโรจน์ ภัทรนากุล. (2552). กลยุทธ์การจัดการและการปรับตัวขององค์การในสภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รจนา ล้าเลิศการ. (2551). กำหนดแนวทางการบริหารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สาหรับธุรกิจพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์. ปริญญามหาบัณฑิต บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ธนวรรณ แสงสุวรรณ, ยงยุทธ ฟูพงศ์ศิริพันธ์, ยุทธนา ธรรมเจริญ, อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า และอุไรวรรณ แย้มนิยม (2549). การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ: เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่นอินไชน่า
บุญชม ศรีสะอาด. (2550). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2553). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมองค์กรการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. นนทบุรี: ธิงค์บียอนด์บุคส์
Nunnally, J. C. (1978). Phychometric Theory. (2nd ed). New York: McGraw Hill
Nunnally, J.C. and I. H. Bernstien.(1994). Psychometric Theory. New York: McGraw Hill
Porter, M. E. (1998). Competitive Advantage Free Press. New York: McGraw Hill
Porter, M. E. (1998). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York: Free Press
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น