รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาครูด้านการวัดประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • วัสส์พร จิโรจพันธุ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • องอาจ นัยพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เสกสรรค์ ทองคำบรรจง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

รูปแบบ, สมรรถนะด้านการวัดประเมิน, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดประเมิน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ การพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาครูด้านการวัดประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21 โดยเปรียบเทียบลักษณะการเปลี่ยนแปลงผลคะแนนสมรรถนะรายด้านของการสอบแต่ละครั้ง เมื่อจำแนกตามสาขาวิชาที่ศึกษา โดยผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ คือ 1) สาขาวิชาภาษาไทย และ 2) สาขาวิชาเคมีและวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินสมรรถนะของนักศึกษาครูด้านการวัดประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านความรู้ 1 ฉบับ ด้านทักษะ 1 ฉบับ ด้านคุณลักษณะ 1 ฉบับ โดยมีการวัด ประเมิน ด้านความรู้ ด้านทักษะและด้านคุณลักษณะ ของนักศึกษาครูในการวัดประเมินผลทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรม จำนวน 4 ครั้ง คือ ก่อนทำการทดลอง 1 ครั้ง ระหว่างทำการทดลอง 2 ครั้งและหลังการ ทดลอง 1 ครั้ง จำแนกตามสาขาวิชา โดยใช้การวิเคราะห์โปรไฟล์ (Profile Analysis) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะ การเปลี่ยนแปลงผลคะแนนสมรรถนะรายด้านของการสอบแต่ละครั้งของนักศึกษาครู

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบที่สร้างขึ้นนำไปใช้พัฒนาสมรรถนะด้านการวัดประเมินทักษะการ เรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้ตามวัตถุประสงค์ 2) ผลเปรียบเทียบลักษณะการ เปลี่ยนแปลงผลคะแนนสมรรถนะรายด้านของการสอบแต่ละครั้งของนักศึกษาครู พบว่า นักศึกษาทั้ง 2 สาขาวิชามีคะแนนสมรรถนะสูงขึ้นกว่าก่อนทำการทดลองในทุกด้าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่องแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. อัดสำเนา.

แขก มูลเดช. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้. สืบค้น 4 มิถุนายน 2556, จาก http://research.pcru.ac.th/rdb/pro_data/files/5501050.pdf.

เจนจิรา วิศาลวรรณ, พิยดา สุทธิจุฑามณี, สุพัตรา สู่หญ้านาง, สุรชัย วงค์จันเสือ, และอมรรัตน์ อยู่เย็น. (2551). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีการศึกษา 2551. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, ภัทราวดี มากมี, และเขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง สำหรับครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 6(1), 448-456.

ดิเรก พรสีมา. (2554). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพครู. อัดสำเนา.

พเยาว์ ดีใจ, พจนีย์ บุณนา, รติมากานต์ ห้วยหงส์ทอง, อองาม เปรมสุข, และอังสนา อนุชานันท์ (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประเภทโควตาและการสอบคัดเลือกของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

พิกุล เอกวรางกูร. (2551). การวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มาตาการพิมพ์.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

Bellanca, J., & Brandt, R. (Eds.), (2010). 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Darling-Hammond, L. & Adamson, F. (2010). Beyond basic skills: The role of performance assessment in achieving 21st century standards of learning. Stanford, CA: Stanford University.

DESD. (2002). United Nations Decade of Education for Sustainable Development. Retrieved August 19, 2014, from http://www.desd.org/about.html.

Dilworth, M. E. & Imig, D. G. (1995). Professional Teacher Development and the Reform Agenda. Retrieved May 15, 2014, from http://www.erigdigest.org/1996-1/reform.htm.

Eisner, E. (1976). Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Functions inEducational Evaluation. Journal of Aesthetic Education,1976,10(3/4),192-193.

McKinsey. (2007). McKinsey Report on Education. Retrieved October 2, 2014, from http://www.mckinsey.com.

Osman, K., Abdul Hamid, S. H.& Hassan, A. (2009). Standard Setting :Inserting Domain of the 21st Century Thinking Skills into the Existing Science Curriculum in Malaysia. Procedia Social and Behavioral Sciences, 1,2573-2577.

Partnership for 21st Century Skills,. (2009). FRAMEWORK FOR 21ST CENTURY LEARNING: Partnership for 21st Century Skills. Retrieved November 4, 2014, from http://www.p21.org/storage/documents/P21_Framework_Definitions.pdf.

Shute, V. J., & Becker, B. J. (2010). Innovative assessment for the 21st century. New York, NY: Springer-

Stiggins, R. J. (2005). From Formative assessment to assessment for learning: A path to success in standards-based schools. Retrieved June 8, 2014, from http://ati.pearson.com/downloads/fromformat_k0512sti1.pdf.

Taylor, L. M., & Fratto, J. M. (2012). Transforming Learning through 21st Century Skill. Boston, MA: Pearson.

UNESCO. (1996). Report to UNESCO of the International Commission on Education for the Twenty-First Century. Retrieved December 20, 2014, from http://www.unesco.org/education/pdf/15_62.pdf.

Verlag Slavin, R. E. (1991). Learning Together and Alone: Cooperative and individualistic Learning. (5thed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Yunus, A., Gokce, I., & Giyasettin D. (2013). The Impact of a Developed Measurement and Evaluation Development Program on Pre Service Physical Education Teachers’ Perceptions Related to Measurement and Evaluation. Educational Sciences: Theory and Practice,13(2),1119-1124.

Zottmann, J., Goeze, A., Fischer, F. & Schrader, J. (2010, August / September). Facilitating the Analytical Competency of Pre-Service Teachers with Digital Video Cases: Effects of Hyperlinks to Conceptual Knowledge and Multiple Perspectives. Paper presented atthe EARLI SIG 6&7 Conference 2010. Ulm, Germany.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15