ความสำคัญของทักษะวิชาชีพบัญชีตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศทางการบัญชี ฉบับที่ 3 ในโครงการสหกิจศึกษา

ผู้แต่ง

  • สงกรานต์ ไกยวงษ์ หลักสูตรการบัญชี วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี

คำสำคัญ:

โครงการสหกิจศึกษา, ทักษะวิชาชีพบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้สืบเนื่องมาจากหลักสูตรการบัญชีได้จัดการการเรียนการสอนในรูปโครงการสหกิจ ศึกษาทางการบัญชี โดยกำหนดให้นักศึกษาออกฝึกปฏิบัติงานทางด้านวิชาชีพบัญชีกับสถานประกอบการ อย่างน้อย 16 สัปดาห์ เพื่อมุ่งหวังให้นักศึกษาได้เพิ่มทักษะทางวิชาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา ดังนั้นผู้วิจัย จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสำคัญของทักษะวิชาชีพบัญชีตามข้อกำหนดมาตรฐาน การศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (International Education Standards for Professional Accountants-3: IES-3) ในโครงการสหกิจศึกษา 2) เพื่อค้นหาแนวทางในการปรับปรุง โครงการสหกิจศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรการบัญชีในอนาคต ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เชิงลึกเพื่อรวบรวมข้อมูลจากผู้สำเร็จการศึกษา นักศึกษา รวมถึงพี่เลี้ยงของสถานประกอบการที่เข้าร่วม โครงการสหกิจศึกษาปี 2557 และปี 2558 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณและข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการประมวลผล งานวิจัยนี้จากการอ่านค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ผลตรงกันระหว่างผู้ตอบแบบสอบถามและ สัมภาษณ์บัณฑิตและพี่เลี้ยงของสถานประกอบการ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะที่สำคัญลำดับที่ 1 คือทักษะ ทางปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร ลำดับที่ 2 ทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล เมื่อได้ทดสอบ ด้วยสมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า เฉพาะทักษะทางปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร ที่มีอิทธิพลต่อทักษะทางวิชาชีพบัญชีในโครงการสหกิจศึกษาทางการบัญชี อย่างมีนัยสำคัญในระดับนัย สำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

ชลิดา ลิ้นจี่. (2557). ทักษะวิชาชีพของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. (บทความวิจัย. คณะการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ฐิติมา อัศวพรหมธาดา,ปิยฉัตร จันทิวา,และสุพิชชา ชีวพฤกษ์. (2550). การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสหกิจศึกษาจากสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 5(2), กรกฎาคม – ธันวาคม 2552, 97-107

ทัศนีย์ ประธาน, มณีรัตน์ รัตนพันธ์, ทิรัศม์ชญา พิพัฒน์เพ็ญ, สนัน ยามาเจริญ, พงศ์ ฉายศิริพันธ์, เจรจา บุญวรรณโณ, สุดารัตน์ วงศ์กระจ่าย, นิติยา ศรีพูล, ดระณี มูเก็ม, ย่าร่อนะ ศรีอาหมัด, และเจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์. (2556). ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่. บทความวิจัย เสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการครั้งที่ 4 วันที่ 10 พฤษภาคม 2556.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, และณัฐวิทย์ พจนตันติ. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ (The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health), 3(2), 208 - 222.

พิเชษฐ ยังตรง, พิณสุดา สิริธรังศรี, และสินธวา คามดิษฐ์. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(100), ตุลาคม - ธันวาคม 2560, 1-12

วิชชุลดา เวชกูล, ขวัญสกุล เต็งอำนวย, และสันสกฤต วิจิตรเลขการ. (2553). ความคาดหวังของผู้ว่าจ้างที่มีต่อ คุณลักษณะของนักบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการประชุมทางวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยของบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ (2555). คู่มือสหกิจศึกษาสำหรับนักศึกษาและคณาจารย์นิเทศ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ (2558). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ บัญชี. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://fap.or.th. ค้นคว้าวันที่ 10 ตุลาคม 2558

เสาวนีย์ ศรีจันทร์นิล. การประเมินผลโครงการสหกิจ ศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์สาขาวิชาการ บัญชี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(1), มกราคม-เมษายน 2557, 145-157

โสภาพรรณ ไชยพัฒน์. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ทำบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดภูเก็ต. (งานวิจัย), กรุงเทพฯ: วิทยาลัยราชพฤกษ์

Ballantine, J., & McCourt Larres, P. (2007). Cooperative learning: A pedagogy to improve students’generic skills. Education and Training, 49(2), 126 - 137.

Howieson, B. (2003). Accounting practice in the new millennium: is accounting education ready to meet the challenge. The British Accounting Review, 35(2), p. 69 - 103.

Hurtado, M. D. M. D., & Lara, L. Á. C. (2015). Efectividad del aprendizaje cooperativo en contabilidad:una contrastación empírica. Revista de Contabilidad, 18(2), p. 138 - 147.

International Accounting Education Standards Board (2014). Internatonal Education Standards: IES Federation of Accounting Professions. Final Pronouncement January 2014.

Lee, C. F., Lee, J. C., & Lee, A. C. (2000). Statistics for business and financial economics. (2nded.). Singapore: World Scientific.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15