การคุ้มครองสิทธิที่จะถูกลืม

ผู้แต่ง

  • ยุกต์กฤต กัณฑมณี Business Law, Faculty of Law, Thammasat University

คำสำคัญ:

สิทธิที่จะถูกลืม, สิทธิในความเป็นส่วนตัว, การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาของสิทธิที่จะถูกลืม รวมถึงความหมายลักษณะและขอบเขตของสิทธิที่จะถูกลืม (2) ศึกษาหลักการคุ้มครองสิทธิที่จะถูกลืมและแนวทางในการให้ความคุ้มครองสิทธิที่จะถูกลืมตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ (3) ศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการให้ความคุ้มครองสิทธิที่จะถูกลืมในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาของศาล ข้อมูลเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารทางวิชาการ กฎหมายของประเทศไทย กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ

จากการศึกษาวิจัยพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิที่จะถูกลืมที่ไม่ครอบคลุมและไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาขอบเขตการใช้สิทธิ ดังกล่าวที่แน่นอนซึ่งอาจส่งผลให้การใช้สิทธิที่จะถูกลืมไม่มีผลใช้บังคับได้ในความเป็นจริง จึงสมควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยการกำหนดคำนิยามและหลักเกณฑ์การพิจารณาการใช้สิทธิที่จะถูกลืม เพื่อเป็นแนวทางในการให้ความคุ้มครองสิทธิที่จะถูกลืมที่สอดคล้องกับสภาพสังคมของประเทศไทย

References

ชวิน อุ่นภัทร, ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง, ปิติ เอี่ยมจารูญลาภ, และ ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล. (2561). Thailand data protection guidelines 1.0: แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Camposeco, J. E. A. The right to be forgotten: A descriptive overview of the right to be forgotten. Retrieved from https://repositori.upf.edu/bitstream/handle/10230/33160/AmayaCamposecoTFG.pdf?sequence=1&isAllowed=y.

Carter, E. L. Argentina’s right to be forgotten. Retrieved from http://law.emory.edu/eilr/_documents/volumes/27/1/recent-developments/carter.pdf.

Castets-Renard, C., & Voss, W. G. (2016). Proposal for an international taxonomy on the various forms of the right to be forgotten: A study on the convergence of norms. Colorado Technology Law Journal, 14, 305.

Fraser, A. Part IX: Law in the digital age should there be a right to be forgotten: The right to make search engines hide information about you. In New Zealand? An Analysis Of Google V Spain. Retrieved from https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2773196.

Fague A. C. (1967). The right of privacy in California. Santa Clara Law Review, 7, 253-255.

Google Spain SL, Google Inc. (2014). V Agencia Española de Protección de Datos (AEPD), Mario Costeja González (2014), CJEU, 317.

Koops, B-J. (2011). Forgetting footprints, shunning shadows: A critical analysis of the right to be forgotten in big data practice. Retrieved from https://papers.ssrn.com/sol3/Delivery.cfm/SSRN_ID1986719_code797387.pdf?abstractid=1986719&mirid=1.

Kuner, C. (2003). European data privacy law and online business. Oxford: Oxford University Press.

Miyashita, H. The right to be forgotten and search engine liability. Retrieved from https://brusselsprivacyhub.eu/BPH-Working-Paper-VOL2-N8.pdf.

Rücker, D., & Tobias Kugler. (2018). New European general data protection regulation: A practitioner’s guide ensuring complaint corporate practice. Oxford : Nomos.

Rudgard, S. (2012). European privacy: Law and practice for data protection professionals. Portsmouth : International Association of Privacy Professionals.

Rosen, J. The right to be forgotten. Retrieved from http://www.stanfordlawreview.org/online/privacy-paradox/right-to-be-forgotten.

Stupariu, I. Defining the right to be forgotten: A comparative analysis between the EU and the US. Retrieved from www.etd.ceu.hu/2015/stupariu_ioana.pdf.

Weber, R. H. (2011). The right to be forgotten: More than a pandora’s box?. JIPITEC, 2, 120.

Warren, S. D., & Brandeis, L. D. (1890). The right to privacy. Harvard Law Review, 4, 196-199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-16