วงศาวิทยาการเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการบริหารจัดการชุมชนด้วยตนเองพื้นที่ภูมิภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • คัชพล จั่นเพชร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พิทักษ์ ศิริวงศ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ธีระวัฒน์ จันทึก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

วงศาวิทยา, แหล่งเรียนรู้ต้นแบบ, การบริหารจัดการชุมชนด้วยตนเอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวงศาวิทยาการเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการบริหาร จัดการชุมชนด้วยตนเองพื้นที่ภูมิภาคตะวันออกจากอดีตจนถึงปัจจุบันว่ามีความแตกต่างจากการศึกษาแบบประวัติศาสตร์เชิงจารีต 2) เพื่อศึกษาชุมชนในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออกในแต่ละยุคสมัยที่มีกระบวนการสร้างหรือสถาปนาความรู้การเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการบริหารจัดการชุมชนด้วยตนเองขึ้นมาเป็นวาทกรรมหลักของชุมชนและสังคม โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสนทนา จำนวน 18 คน จากชุมชนที่เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านบริหารจัดการชุมชนด้วยตนเองผ่านรูปแบบการวิจัย เชิงวิเคราะห์วาทกรรมนำไปสู่การสร้างทฤษฏีฐานราก ผลการศึกษาข้อมูลได้กล่าวถึง ตอนที่ 1 วาทกรรม อำนาจและความรู้ ยุคสมัยแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการตนเองของชุมชนแบบดั้งเดิม ตอนที่ 2 การสถาปนาแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการตนเองของชุมชนสมัยใหม่ ตอนที่ 3 การเบียดขับวงศ์วานความรู้สมัยเก่าและยุคสมัยการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านจัดการตนเองของชุมชนแบบทันสมัย และตอนที่ 4 การผลิตสร้างทางสังคม เพื่อรื้อถอนวงศ์วานความรู้สู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านจัดการตนเองของชุมชนผ่านการสังเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดประกอบด้วย 4.1) โลกทัศน์ทางการจัดการตนเองของชุมชนยุคสมัยใหม่ 4.2) อุดมการณ์ทางการจัดการตนเองของชุมชนยุคสมัยใหม่ 4.3) อำนาจทางการจัดการตนเองของชุมชนยุคสมัยใหม่ และ 4.4) ความรู้ทางการจัดการตนเองของชุมชนยุคสมัยใหม่

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด

จันทร์พร ช่วงโชติ, นำชัย ทนุผล, และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). บ้านพุเข็ม ชุมชนหลังเขื่อน: กระบวนทัศน์ของชาวบ้านต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานชุมชนพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 408-419.

ชนินทร์ วะสีนนท์, สมบูรณ์ ชาวชายโขง, และธวัชชัย คุณวงษ์. (2555). คนรุ่นใหม่กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 75-86.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2558). การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอำนาจของชุมชนท้องถิ่นในภาคตะวันออก. วารสารพัฒนาสังคม, 17(1), 65-87.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1342-1354.

นภาภรณ์ หะวานนท์. (2543). วิธีวิทยาในการศึกษาปรากฏการณ์ความเข้มแข็งของชุมชน. ในเอกสารประกอบสัมมนาองค์ความรู้ในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน: จากปรากฏการณ์สู่ทฤษฏีฐานราก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิภาพร มาลีลัย, และจักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. (2558). การต่อรองกับสำนักบุญนิยมในพื้นที่พหุชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนครผ่านทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคม. วารสารลุ่มน้ำโขง, 11(2), 139-164.

นิ่มนวล จันทรุญ, เกวลี อ่อนเรือง, และสัญญา เคณาภูมิ. (2559). แนวคิดการจัดการภูมิปัญญาวิถีครามวิถีภูไท. วารสารธรรมทรรศน์, 16(1), 250-263.

บุญเลิศ วิเศษปรีชา. (2559). ชุมชน : จากอุดมคติถึงเครื่องมือเพื่อการปกครอง. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 9-35.

ปณต อัศวชัย. (2558). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนของชุมชนเทศบาลตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(18), 60-67.

ปราการ เกิดมีสุข. (2559). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาผู้นำชุมชน: ศึกษากรณีผู้นำชุมชนวัดปุรณาวาส. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 5(1), 11-18.

พูลสุข จันทร์เพ็ญ, ประสงค์ ปราณีตพลกรัง, พงศ์ หรดาล, และกุสุมา พลาพรหม. (2553). รูปแบบการบริหารคุณภาพโดยรวมสำหรับระบบการจัดการความรู้ในชุมชนไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 50(1), 115-126.

มานะ นาคำ. (2559). ชุมชนปฏิบัติของชาวสวนผสมผสานแบบยกร่องลุ่มน้ำแม่กลอง. วารสารลุ่มน้ำโขง, 12(3), 107-130.

รติพร ถึงฝั่ง, และสุพรรณี ไชยอำพร. (2560). การเกื้อหนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในบริบทชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และชุมชนที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์หลากหลาย. วารสารพัฒนาสังคม, 19(2), 1-20.

ฤทธิณัณฑ์ เชื้อทอง, และรุจิระ โรจนประภายนต์. (2559). ค่านิยม อุดมการณ์ และรูปแบบการสื่อสารที่แสดงถึงลักษณะทางวัฒนธรรมของคนไทย. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 21(19), 110-143.

วิไลลักษณ์ รุ่งเมืองทอง, และสุพรรณี ไชยอำพร. (2559). กระบวนการเสริมพลังอำนาจประชาชนเพื่อการเป็นปึกแผ่นของชุมชน. วารสารพัฒนาสังคม, 18(2), 77-101.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2555). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์: จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุทิศ ทาหอม, พิชิต วันดี, และสำราญ ธุระตา. (2558). ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านตามา จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11(2), 44-59.

Boonmee, T. (2014). Mitchel foucault (2nd ed.). Bangkok, Thailand: Vibhasa.

Fairclough, N. (1992). Discourse and social change. USA: Blackwell Publishing Inc.

Foucault, M. (1984). Nietzsche, genealogy, history. In P. Rabinow (Ed.), The Foucault Reader. New York: Pantheon Books.

Friedlander, W. A., & Apte, R. Z. (1980). Introduction to social welfare. New Jersey: Prentice-Hall.

Glaser, B. G., & Strauss, A. L. (1967). The discovery grounded theory: Strategies for qualitative research. London: Aldine Publishing Company.

Pornprachatham, S. (2006). The genealogy of thai educational system. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Rawiwong, V. (1989). The future of social welfare in Thailand. In Social Welfare in the Present and Future (pp. 1-42). Bangkok: National Council for Sociological Research.

Sathirakoses-Nagapradjpa. (1989). Thai life before. Bangkok: Fine Arts Department.

Vuthimedhi, Y. (1983). Principles of community development and rural development. Bangkok: Thai Anugkor Thai.

Wantana, S. (1983). Political economy of the thai education system study on non-participation in national development. Bangkok: Chulalongkorn University.

Wasikasin, W., Nontapattamadul, K., & Wasinarom, S. (2010). General knowledge about social welfare and social work (7th ed.). Bangkok: Thammasat University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-16