ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกร้านค้าปลีกจำหน่ายสินค้าออร์แกนิค อาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติแบบเฉพาะ (ร้านกรีน)

ผู้แต่ง

  • ธฤษิดา ธฤษิดารุ่งเรืองกนกกุล หลักสูตรการจัดการ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปรารถนา ปุณณกิติเกษม หลักสูตรการบริหารสุขภาพองค์รวม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศิริสุข รักถิ่น หลักสูตรการจัดการและกลยุทธ์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ร้านกรีน, สินค้าออร์แกนิค, พฤติกรรมผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกร้านค้าปลีกจำหน่าย สินค้าออร์แกนิค อาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติแบบเฉพาะ (ร้านกรีน) จำแนกตามลักษณะ ส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสุขภาพ ปัจจัยสังคม และทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม การเลือกร้านกรีนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจาก ตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและเคยเข้าซื้อสินค้าที่ร้านกรีน จำนวน 404 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ เชิงอนุมาน ประกอบด้วยสถิติค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า

ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกร้านกรีนด้านการสื่อสารแบบปากต่อปากในการแนะนำร้านกรีน แตกต่างกัน จากการศึกษายังพบว่า ปัจจัยสุขภาพด้านการรับประทานอาหารและด้านการออกกำลังกาย ปัจจัยสังคมด้านการได้รับการยอมรับของกลุ่ม และทัศนคติ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการเลือก ร้านกรีน นอกจากนี้ ปัจจัยสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร ปัจจัยสังคมด้านความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม และการได้รับการยอมรับของกลุ่ม และทัศนคติ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการสื่อสารแบบปาก ต่อปากในการแนะนำร้านกรีน

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไทยรัฐออนไลน์. (2557). เล็งชิงส่วนแบ่งตลาดออร์แกนิคโลก จับลูกค้ากระเป๋าหนักสหรัฐฯ-อียู. สืบค้น 1 ธันวาคม 2558, จาก https://www.thairath.co.th/content/436741.

นภัสสร อติชาตนันท์. (2555). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า iPad ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการตลาด). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ปิลันธนา แป้นปลื้ม และ มณฑิชา พุทซาคำ. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษาผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิมพ์รวี ทังสุบุตรและชุติมา ไวศรายุทธ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารสุขภาพเพื่อสร้างกลยุทธ์สำหรับธุรกิจอาหารออร์แกนิก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รณกร เงินวิเชียร. (2556). การตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ ยามาฮ่าของลูกค้า บริษัทคลินิกยานยนต์จำกัด. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ลัดดาวัลย์ โชคถาวร และขวัญกมล ดอนขวา.(2560). อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมการตลาดและปัจจัยทัศนคติ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1),79-91.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์.

Kavaliauske, M., & Ubartaite, S. (2014). Ethical behavior: Factors influencing intention to buyorganic products in Lithuania. Economics and Management, 19(1), 72-83.

Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation and control (9th ed.).New Jersey: A Simon & Schuster Company.

Mutlu, N. (2007). Consumer attitude and behavior towards organic food: Cross-cultural study of Turkey and Germany. (Thesis). Germany: University of Hohenheim.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Sangkumchaliang, P., & Huang, W-C. (2012). Consumers’ perceptions and attitudes of organicfood products in Northern Thailand. International Food and Agribusiness Management Review, 15(1), 87-102.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-17