การดำเนินกิจการภายใต้แนวคิดบรรษัทภิบาลของบริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่สถานีบริการจัดเก็บน้ำมันอากาศยานสุวรรณภูมิ
คำสำคัญ:
บรรษัทภิบาล, การกำกับกิจการบริษัท, บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินกิจการตามหลักบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) ของบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บริษัท บาฟส์) ผ่านกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม และ (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนิน กิจกรรมของบริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)ในพื้นที่รอบสถานีบริการจัดเก็บน้ำมัน อากาศยานสุวรรณภูมิโดยทำการศึกษาจากเอกสารรายงานการวิจัย บทความ ประกาศและเอกสารที่ เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมถึงการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ รอบๆสถานีบริการจัดเก็บน้ำมันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การจัดหมวดหมู่ข้อมูล สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่าบริษัท บาฟส์ ได้ดำเนินกิจการตามหลักบรรษัทภิบาล โดยแสดงความรับผิดชอบ ทั้งภายในบริษัท และสังคม กล่าวคือ (1) บริษัท บาฟส์ ได้ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการตาม หลักการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้รับรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ (SET Award of Honor) 3 ปีติดต่อกัน และ (2) การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท บาฟส์ ได้จัดกิจกรรมเพื่อ สังคม เช่น กิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การตรวจสุขภาพชุมชน การร่วมงานประเพณีของชุมชน การบริจาคสิ่งของแก่ชุมชน การอบรมดับเพลิง เป็นต้น
References
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2556). โครงการการสำรวจความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อการดำเนินงานของบริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). แบบประเมินตนเองเรื่องการปฏิบัติตามหลักกำกับดูแลกิจการที่ดี ปี 2555. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, (2557). รางวัลด้านการรายงานบรรษัทภิบาลดีเยี่ยม. สืบค้น 10 กันยายน 2560, จาก https://www.set.or.th/sustainable_dev/th/cg/awards_p1.html
ถวิลวดี บุรีกุล. (2546). ธรรมาภิบาล: หลักการเพื่อการบริหารรัฐกิจแนวใหม่. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 1(2), 14-25.
บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).(2554). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).
บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2555). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).
บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2556). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).
บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2557). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).
บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2558). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).
บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2559). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).
บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2560). รางวัล. สืบค้น 13 กันยายน 2560, จาก http://www.bafsthai.com/awards.
รัชยา ภักดีจิตต์. (2555). ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารภาครัฐและเอกชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิศักดิ์ ไกรสรสุธาสินี, สุธี สมุทระประภูต, จณิน เอี่ยมสอาด, อโณทัย สังข์ทอง. (บ.ก.). (2550). ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เกื้อกูลผูกพันมั่งคั่งและยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เจริญการพิมพ์.
สุรศักดิ์ ไชยธนกิจ. (2558). บริษัทจดทะเบียนและธรรมาภิบาลบริษัทไทยภายใต้แนวคิดทฤษฏีความสมดุลของอำนาจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560. สืบค้น 19 ตุลาคม 2560, จาก http://www.cgthailand.org/TH/FAQ/cgcode/Pages/CGCodeFAQs.aspx
วิทยา ชีวรุณทัย. (2553). พลัง CSR สู่องค์กรเป็นเลิศ ฉบับ Advanced. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.
องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ. (2549). หลักการกำกับดูแลกิจการของ OECD. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย.
Jensen, M. and Meckling, W.(1976). Theory of the Firm: Managerial Behaviour, Agency Costs, and Ownership Structure. Journal of Financial Economics, 3(4), pp.305-360.
Kotler, P. & Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility: Doing the Most Good for your Company and Your Cause. New Jercy: Wiley.
Mallin, A. C. (2004). Corporate Governance. New York: Oxford University Press.
Williamson, O. E. (1975). Markets and Hierarchies. New York: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น