การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • นันทน์ธร บรรจงปรุ
  • พัชรี ปรีดาสุริยะชัย
  • ขวัญคนิฐ แซ่อึ้ง

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, ทักษะการคิดขั้นสูง, หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง หมวดวิชาศึกษาทั่วไป วิชาความคิดสร้างสรรค์กับนวัตกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยชุดกิจกรรมและแบบประเมินอยู่ภายใต้แนวคิดของ Anderson และ Krathwohl’s taxonomy (2001) ซึ่งได้ปรับมาจากของ Bloom’s Taxonomy (1956) โดยครอบคลุมถึง ความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การประเมิน และการสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในรายวิชาศึกษาทั่วไป วิชาความคิดสร้างสรรค์กับนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องตามโครงสร้างของชุดกิจกรรม ผลการตรวจสอบ ความเหมาะสมพบว่า มีความหมาะสมโดยค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.24 - 4.67 ซึ่งค่าเฉลี่ยดังกล่าวมี ความเหมาะสมในระดับมากในทุกรายการประเมิน สำหรับผลการตรวจสอบความสอดคล้องพบว่า ค่าดัชนี ความสอดคล้องมีค่าอยู่ระหว่าง .67-1.00 แสดงให้เห็นว่า ในแต่ละองค์ประกอบของชุดกิจกรรมมี ความสอดคล้องกัน 2. ผลประเมินความพึงพอใจในการใช้ชุดกิจกรรม ทักษะการคิดขั้นสูง อยู่ในระดับดี และ 3. นิสิตที่ศึกษาคณะต่างกันมีทักษะการคิดขั้นสูงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

References

ทิศนา แขมมณี, พิมพันธ์ เดชะคุปต์, ศิริชัย กาญจนวาสี, ศรินธร วิทยะสิรินันท์, และนวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2541). คิดเก่ง สมองไว. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โปรดัคทีฟบุ๊ค.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์เลิฟเพรส.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, และดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 – 2565). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อารี พันธ์มณี. (2540). ความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.

Anderson, L.W. & Krathwohl, D.R. (2001). A Taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s Taxonomy of Education Objectives. (Complete edition). New York: Longman.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay.

Bloom, B.S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw Hill.

Walter, B. (1981). Applying Education Research: A Practice Guide for Teachers. New York: Longman.

Stewart, D. W. & Shamdasani, P. N. (2014). Focus Groups: Theory and Practice. (Applied Social Research Methods). (Third Edition). London: SAGE Publication.

Klein, S.B. (1996). Learning: Principles and Application. (3rd ed). New York: McGraw-Hill.

Brookhart, S. M. (2010). How to Assess Higher-Order Thinking Skills in Your Classroom. Alexandria Virginia USA: ASCD.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18