การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสามารถด้านคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา แก้วสิงห์ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พนิดา มารุ่งเรือง ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุวิมล กฤชคฤหาสน์ ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เรืองเดช ศิริกิจ สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความสามารถด้านคำนวณ, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวัดความสามารถด้านคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำนวน 660 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านคำนวณ จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การแปรผัน ความเบ้ ความโด่ง และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยันอันดับสอง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดความสามารถด้านคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ทักษะการคิดคำนวณ และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=288.15, df =263, P value = 0.137, χ2/dƒ = 1.095, GFI = 0.97, AGFI = 0.95, SRMR = 0.027, RMSEA = 0.012) โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.76-0.99 ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และโมเดลการวัดตัวแปรแฝงความสามารถด้านคำนวณมีค่าความเชื่อมั่นของตัวแปรแฝง (рc) อยู่ ระหว่าง 0.96-0.98

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). กรอบโครงสร้างการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2009. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สุนีย์ คล้ายนิล, ปรีชาญ เดชศรี และอัมพลิกา ประโมจนีย์. (2550). การวัดผลประเมินผลเพื่อคุณภาพการเรียนรู้และตัวอย่างข้อสอบจากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA). กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สุวร กาญจนมยูร. (2544). เทคนิคการใช้สื่อเกม และของเล่นคณิตศาสตร์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2556). นิยามความสามารถของผู้เรียนด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล (Literacy, Numeracy & Reasoning Ability) โครงการประกันคุณภาพการศึกษาและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). การประเมินผลการศึกษานานาชาติ: Programme for the International Assessment of Adult Competencies, PIAAC. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Askew, M., Brown, M., Johnson, D., Rhodes, V., & Wiliam, D. (1997). Effective Teachers Of Numeracy: Report of a study carried out for the Teacher Training Agency By the School of Education. London: King’s College.

Australian Curriculum, Assessment and Report Authority. (2012). The Australian CurriculumContinue for Numeracy. Sydney: n.p.

Cockcroft, W. H., Ahmed, A. G., Cross, K., David, C., Davies, G., Dennis, K. T., ...Basire, E. L.(1982). Mathematics count: Report of the Committee of Inquiry Into the Teaching of Mathematics in Schools the Chairmanship. London: Her Majesty’ Stationery Office.

Department for Education and Employment (DfEE). (1999). The National Numeracy Strategy: Framework for teaching mathematics from Reception to year 6. London: Department for Education and Employment.

Department for Education and Skills. (2013). National Literacy and Numeracy Framework. Wales: n.p.

Human Capital Working Group, Council of Australian Government. (2008). NationalNumeracy Review Report: May 2008. Barton Australia: n.p.

International Association for the Evaluation of Educational Achievement (IEA). (2013). TIMSS 2015 Assessment Framework. Boston: TIMSS & PIRLS International Study Center.

McLean, P., Perkins, K., Tout, D., Brewer, K., & Wyse, L.(2012). Australian Core Skills Framework: 5 Core Skills, 5 Levels of Performance, 3 Domains of Communications. Canberra Australia: n.p.

Russell, R. (2009). Help your child with numeracy: age range 7-11. London: 101 Printing International

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-18