ทุนองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไทยตามแนวคิดโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ โพนศิริ สาขาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พาชิตชนัต ศิริพานิช คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ทุนองค์กร, ความรับผิดชอบต่อสังคม, การพัฒนาอย่างยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งผลของลักษณะทั่วไปขององค์กร ทุนองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไทยตามแนวคิดโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ประชากรมีจำนวน 185 ราย คือบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมไทยที่ได้รับการรับรองจากโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรมและเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้ขนาดตัวอย่าง 125 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้คือวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) การศึกษาลักษณะทั่วไปขององค์กร ได้แก่ ประเภทอุตสาหกรรม ระยะเวลา ทุนจดทะเบียน และระดับขั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว ทุนองค์กรได้แก่ วัฒนธรรม องค์กร การเรียนรู้องค์กร นวัตกรรมองค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อพนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้และซัพพลายเออร์และภาครัฐ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลิตภาพ การผลิต การเพิ่มขึ้นของลูกค้า ความภักดีของลูกค้า และความสามารถในการทำกำไร พบว่า มีเพียง 2 ตัวแปรที่สามารถทำนายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจได้ ได้แก่ ทุนองค์กรด้านวัฒนธรรมองค์กร และความรับผิดชอบต่อสังคมด้านความรับผิดชอบต่อพนักงานที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2554). อุตสาหกรรมสีเขียว. สืบค้น 2 เมษายน 2559, จาก http://http://green.industry.go.th/

จิลดา หมายมั่น และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2559). Industry 4.0 อนาคตของอุตสาหกรรมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1),14-28.

ปิยธิดา ตั้งตระกูลสมบัติ. (2554). การปรับตัวของอุตสาหกรรมไทยสู่โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2558, จาก http://www.freightmaxad.com/magazine/?p=3669

พยัต วุฒิรงค์. (2557). การจัดการนวัตกรรม: ทรัพยากรองค์การแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: วี. พริ้นท์ (1991).

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2553). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร: การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.

มัทนชัย สุทธิพันธุ์. (2556). ทางออกของธุรกิจไทยสู่หนทางแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารบริหารธุรกิจ, 36(137), 38-50.

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนขององค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไอคอนพริ้นติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559), กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว. (2556). คู่มืออุตสาหกรรมสีเขียวสำหรับผู้ประกอบการ(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2559). ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำเริง ไกยวงค์. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุและประโยชน์ทางธุรกิจของการมีความรับผิดชอบต่ สังคมขององค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาการจัดการดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Agan, Y., Kuzey, C., Acar, M. F., & Açıkgoz, A. (2014). The Relationships Between Corporate Social Responsibility, Environmental Supplier Development, and Firm Performance. Journal of Cleaner Production, 1-10.

Barney, J. (1991). Firm Resources and Sustained Competitive Advantage. Journal of Management, 17(1), 99–120.

Bose, S. & Thomas, K. (2007). Applying the balanced scorecard for better performance of intellectual capital. Journal of Intellectual Capital, 8(4), 653-665.

Denison Daniel, R. (1990). Corporate culture and organizational effectiveness. New York: John Wiley.

Drienikovà, K & Sakàl, P. (2012). Respecting Stakeholders and Their Engagement to Decision Making – The Way of Successful Corporate Social Responsibility Strategy. Management and Quality, 16, 165-173.

Elbanna, S., Eid, R., & Kamel, H. (2015). Measuring hotel performance using the balanced scorecard: Atheoretical construct development and its empirical validation. International Journal of Hospitality Management, 51, 105-114.

Gupta, N. (2012). Corporate Social Responsibility In Textile Industry. Golden Research Thoughts, 2(4), 1-8.

Huang, Y. C. & Wu, Y. C. (2010). Intellectual Capital and Knowledge Productivity: The Taiwan Biotech Industry. Management Decision, 48(4), 580 – 599.

Husted, B. W., & Allen, D. B. (2007). Strategic Corporate Social Responsibility and Value Creation Among Large Firms - Lessons from the Spanish Experience. Long Range Planning, 40(6), 594 – 610.

Jain, A. (2014). The Concept of Triple Bottom Line Reporting and India’s Perspective. Indian Journal of Applied Research, 4(5), 128-130.

Jamali, D. (2008). A Stakeholder Approach to Corporate Social Responsibility: A Fresh Perspective into Theory and Practice. Journal of Business Ethics, 82, 213–231

Kaplan, R. S. & Norton, D. P. (1992). The Balance Scorecard: Measures that Drive Performance. Harvard Business Review. 12, 71-79.

Kaplan, R. & Norton, D. (2004). The strategy map: guide to aligning intangible assets. Strategy and Leadership, 32(5), 10-17.

Kline, R. B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. (3rded.). New York, NY: The Guilford Press.

Malmelin, N. (2007). Communication Capital: Modelling Corporate Communications as an Organizational Asset. Corporate Communications: An International Journal,12(3), 298-310.

Markley, M. J., & Davis, L. (2007). Exploring Future Competitive Advantage Through Sustainable Supply Chains. International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 37(9), 763 – 774.

Martin-de-Castro, G., Navas-Lopez, J.E., Lopez-Saez, P. & Alama-Salazar, E. (2006). Organizational Capital as Competitive Advantage of the Firm. Journal of Intellectual Capital, 7(3), 324-337.

Mirkamali, K. S., & Salajeghe, S. (2014). Measuring the Relationship between Intellectual Capital and Project Managers Competency Model in the Project Oriented Organizations. Research in Business and Management, 1(2), 55-80.

Sanchez-Canizares, S.M., Ayuso Munoz, M.A. & Lopez-Guzman, T.(2007). Organizational culture and intellectual capital: a new model. Journal of Intellectual Capital, 8(3), 409-430.

Shafiee, M., Lotfi, F. H., & Saleh, H. (2014). Supply chain performance evaluation with data envelopment analysis and balanced scorecard approach. Applied Mathematical Modelling, 38, 5092-5112.

Shen, L., Govindan, K., & Shankar, M. (2015). Evaluation of Barriers of Corporate Social Responsibility Using an Analytical Hierarchy Process under a Fuzzy Environment—A Textile Case. Sustainability, 7, 3493-3514.

Shen, Y. C., Chen, P. S. & Wang, C. H. (2015). A study of enterprise resource planning (ERP) system performance measurement using the quantitative balanced scorecard approach. Computers in Industry, 2691, 1-13.

Stevanović, T., & Ranđelović, M. P. (2012). Sustainability Balanced Scorecard and Eco-Efficiency Analysis. Economics and Organization, 9(2), 257 – 270.

Turker, D. (2009). How Corporate Social Responsibility Influences Organizational Commitment. Journal of Business Ethics, 89, 189–204.

Yahya, N.A., Arshad, R. & Kamaluddin, A. (2015). Green Intellectual Capital Resources as Drivers of Firms’ Competitive Advantage. Intellectual Capital and Knowledge Management and Organizational Learning, 327-335.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-19