โปรแกรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ยึดโครงงานเป็นฐานสำหรับห้องเรียนศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ วรครบุรี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ที่ยึดโครงงานเป็นฐาน, การศึกษาในศตวรรษที่ 21, การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบความมีประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ที่ ยึดโครงงานเป็นฐานสำหรับห้องเรียนศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนาดำเนินการทดลองภาคสนามในโรงเรียน บ้านนาก้านเหลือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 ด้วยการวิจัยเชิงทดลอง เบื้องต้นแบบหนึ่งกลุ่มมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมายคือครูผู้สอนจำนวน 24 คน นักเรียนที่เกี่ยวข้องจำนวน 567 คน ผลการวิจัยและพัฒนาได้โปรแกรมการเรียนรู้ที่ยึดโครงงานเป็นฐาน สำหรับห้องเรียนศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยโครงการพัฒนาความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายมีคู่มือประกอบ 5 หน่วยการเรียนรู้ และโครงการนำความรู้สู่การปฏิบัติมีคู่มือประกอบ 1 หน่วยการเรียนรู้ หลังการทดลอง ภาคสนามพบว่า โปรแกรมมีประสิทธิผลตามสมมุติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้คือคะแนนบรรยากาศ การเรียนการสอนของกลุ่มเป้าหมาย และพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยหลังการทดลองสูง กว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีข้อเสนอแนะจากผลการถอดบทเรียนที่ควร คำนึงถึงในการนำโปรแกรมไปใช้คือ ให้นักเรียนวางแผนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ครูต้องช่วยเหลือดูแล ให้คำแนะนำนักเรียนอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน เน้นการใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ และระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่ควรนานเกินไป

References

ดุษฎี โยเหลา, ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning). สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2558, จาก https://candmbsri.wordpress.com/2015

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ธันยวิช วิเชียรพันธ์ และปวีณา จันทร์สุข. (2556). รายงานโครงการพัฒนาเครื่องมือเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชนไทยเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2559, จาก https://qlfproduction.s3.amazonaws. com/... /1394622022.

นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(1), 60-71.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2558). The 21st Century teacher (ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21). กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัทแอคทีฟพริ้นท์จำกัด.

ปรียา บุญญสิริ. (2553). กลวิธีการจัดการเรียนรู้โดยการทำโครงงานระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน: การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี. (2556). การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ นันตะสุคนธ์ และวัลลภา อยู่ทอง. (2557). หลักสูตรการอาชีวศึกษาและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. (2555). คู่มือกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555). นราธิวาส: กองส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

มหาวิทยาลัยศรีประทุม. (2554). การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ Project Based Learning. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีประทุม.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน: งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพฯ: สาฮะแอนด์ซันพริ้นติ้ง.

วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการ. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์.

วัชรินทร์ โพธิ์เงิน พรจิต ประทุมสุวรรณ และสันติ หุตะมาน. (2557). การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

______. (2558). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิด แนวปฏิบัติ และกรณีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

สันติ หุตะมาน และพูลศักดิ์ โกษียาภรณ์. (2558, เมษายน – มิถุนายน). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับระบบพี่เลี้ยงสำหรับวิชาระบบควบคุมแบบคลาสสิค. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(2), 108-121.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนยุคใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองด้วยการบูรณาการไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Baron, K. (2010). Six Steps to Planning a Project. Retrieved November 1, 2015 from http://www.edutopia.org/stw-maine-project-based-learning-six-steps-planning.

Bender, W. N. (2012). Project-based learning: Differentiating instruction for the 21st century. California: CORWIN A SAGE Company.

Harun, D. (2006). PROJECT-BASED LEARNING HANDBOOK “Educating the Millennial Learner” Malaysia: Educational Technology Division, Ministry of Education.

Heick, T. (2012). 10 Characteristics of a highly effective learning environment. Retrieved January 22, 2016, from http://www.teachthought.com/learning/10-characteristics-of-a-highlyeffective-learning-environment/.

KM CHILD-PBL. (2015). (Project-based Learning. Retrieved May 8, 2016, from http://www.vcharkarn.com/vcafe/202304.

Lucas, G. (2015). Project-based learning research. Retrieved November 20, 2015, from http://www.edutopia.org.

Moursund, D. (2009). Project-based learning: Using information technology. New Delhi: VinodVasishtha for Viva Books Private limited.

Partnership for 21st Century Skills. (2011). Framework for 21st century learning. Retrieved January 2, 2016, from http://www.p21.org/overview/skills-framework.

Stix, A. and Frank, H. (2006). The Nine Steps of Project-Based Learning. Retrieved July 20, 2016 from http://www.ascd.org/publications/books/106031/chapters/The_Nine_Steps_of_Project-Based_Learning.aspx.

The Victorian Council of School Organizations. (2012). A 21st century curriculum discussion paper. Retrieved January 22, 2016, from http://www.viccso.org.au/big-ideas/a-21st-century-curriculum.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-19