การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงานการเขียนสำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
หลักสูตรฝึกอบรม, การสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์, ทักษะการผลิตผลงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักสองประการ คือ พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงานการเขียนสำหรับครูผู้สอนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น โดยศึกษาผลที่เกิดกับครูที่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมและผลที่เกิดกับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่ได้รับการสอนโดยครูที่เข้ารับการอบรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) และนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 90 คนโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) การวิจัยครั้งนี้ดำเนินตาม ระเบียบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพ ของหลักสูตรฝึกอบรม โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมฯ มีความเหมาะสมและสอดคล้องอยู่ในระดับมาก (2) ประสิทธิผลของหลักสูตร มีดังนี้ ครูมีความรู้ ความเข้าใจและมีเจตคติในการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงานการเขียนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่ได้รับการสอนจากครูที่ผ่านการฝึกอบรมมีผลสัมฤทธิ์ด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงานการเขียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ครูมีความสามารถ ในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ในการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงานการเขียน ในระดับมากทุกด้าน (3) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ อยู่ในระดับมาก
References
ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). การฝึกอบรมบุคคลากรในองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2552). การประเมินหลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บันลือ พฤษะวัน. (2535). พัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ประเทิน มหาขันธ์. (2519). หลักการสอนภาษาไทยในชั้นประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). การศึกษาไทย 4.0: การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2557ก). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2557ข). เพื่อความเป็นผู้นำของการครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ. (2545). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2552). คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทยคิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์ เรียงความย่อความและสรุปความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.
______. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานเลขาธกิารสภาการศกึษา. (2553). รายงานการวจิยัเรอื่ง การวจิยัและพฒันานโยบายการพฒันา ครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อาจิยา หลิมกุล. (2557). การศึกษาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญา บัณฑิตที่จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบซินเนคติกส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Barrett, A. J. (2013). Supporting student growth in syntactical fluency as writers: A paired learning approach. New Zealand: The University of Waikato.
Gay ,L. R., Mills,G.E., & Airasian, P.W. (2011). Educational Research: Competencies for Analysis and Applications. (10 th Edition). New Jersey: Prentice Hall.
Kirkpatrick, D. L. (2009). Implementing the Four Levels: A Practical Guide for Effective Evaluation of Training Programs. San Francisco: Berrett- Koehler Publishers.
Sahlberg, P. (2012). What Can the World Learn from Educational Change in Finland. New York: Teachers College Press.
Smith, V. G. & Szymanski, A. (2013). Critical Thinking : More than test scores. International Journal of Educational Leadership Preparation, 8(2),15-24.
Starko, A. J. (2010). Crativity in the Classroom School of Curious Delight. New Jersey: Lawrence Erlbaum.
Taba. H. (1962). Curriculum development:: Theory and practice. New York, NY: Harcount, Brace & World.
Taylor, C. W. (1989). The nature of the creative process. NY: Hasting House
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น