การดูแลคุ้มครองอย่างเหมาะสม: การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบเกี่ยวกับระบบการคุ้มครองเด็กในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ฐิติมา โห้ลำยอง

คำสำคัญ:

การคุ้มครองเด็ก, ระบบการคุ้มครองเด็ก, การคุ้มครองเด็กเชิงระบบ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำความเข้าใจระบบการคุ้มครองเด็กของประเทศไทย และค้นหาช่องว่างที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายของการคุ้มครองเด็กเชิงระบบ โดยการทบทวนวรรณกรรม อย่างมีระบบผ่านการทำงานเชิงระบบตามกรอบแนวคิดของ Wulezyn และใช้เกณฑ์ Critical appraisal of evidences ในการคัดเลือกงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่า มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับ หลักเกณฑ์เลือกเข้าจำนวน 108 เรื่อง ผลการวิเคราะห์ช่องว่างตามองค์ประกอบของพลวัตการคุ้มครองเด็ก ที่มุ่งเน้นการดำเนินงานเชิงระบบ พบว่า ช่องว่างที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายของการคุ้มครองเด็ก เชิงระบบ คือ (1) ความไม่เชื่อมโยงของฐานคิดและเป้าประสงค์ของระบบการคุ้มครองเด็กของประเทศไทย ไปยังทุกภาคส่วนของสังคม และ (2) การเชื่อมประสานการทำงานระหว่างภาคส่วนและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานคุ้มครองเด็ก ทั้งส่วนที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงการสอดประสานแนวคิดให้เป็นหนึ่งเดียวกันในทุกๆ ส่วนที่เกี่ยวข้อง

References

จริยาวดี มิตรสูงเนิน. (2549). การคุ้มครองเด็กที่กระทำผิดในคดีอาญา: ศึกษาเฉพาะกรณีการควบคุมชั้นก่อนฟ้อง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลดาวัลย์ ปัญตะยัง. (2553). พลังชุมชนเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็ก จากการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บวรวิทย์ เปรื่องวงศ์. (2555). ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้พระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. สืบค้น 23 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.thainhf.org/icgp/autopagev4/files/qznl52USun123529.pdf

ภคเมธี สายสนั่น, หม่อมหลวง. (2551). การศึกษาการดำเนินงานในการนำพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ไปสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สุโขทัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ระพีพรรณ คำหอม, และประกายทิพย์ วงศ์หอม. (2559). รายงานการศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

วรรณรณี จิตบุญ. (2554). แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง. ตรัง: สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง.

วันดี ทวีบุรุษ. (2554). แนวทางการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายภาคประชาชนในการบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด: ศึกษาเฉพาะกรณีสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปราจีนบุรี. (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิชุลดา มาตันบุญ. (2551). ระบบการคุ้มครองทางสังคม เพื่อให้เด็กปลอดภัยจากสารเสพติดโดยชุมชน : กรณีศึกษาตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิริยะ ธรรมจักร (2556). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเด็กจากสื่อลามก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. (2552). การศึกษาทางระบาดวิทยาของการทารุณกรรมละเลยทอดทิ้งเด็กและพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กในจังหวัดขอนแก่นและการพัฒนาระบบค้มุ ครองเด็ก. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

สมเกียรติ โพธิสัตย์, และคณะ. (2547). คู่มือการทบทวนอย่างเป็นระบบ. นนทบุรี: โรงพิมพ์โหลทองมาสเตอร์พริ้นท์.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2555). การสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว: เวทีเสวนา ‘ร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน’ ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.). องค์กรเอ็คแพท อินเตอร์

เนชั่นแนล. (2555). การสำรวจข้อมูลและสภาพการณ์การพัฒนาคุ้มครองเด็กในพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็ก เยาวชนผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ

อภิญญา เวชยชัย. (2551). การพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็กในสังคมไทย. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Earl-Slater, A. (2002). The superiority of action research?. British Journal of Clinical Governance,7(2), 132-135.

Forbes, B., Luu, D., Oswald, E., &Tutnjevic, T. (2011). A systems approach to child protection: A World Vision discussion paper. Monrovia, CA: World Vision International.

Global Child Protection Strategy. (2012). Thematic Review of Plan’s child protection work globally to support development of Plan’s Global Child Protection Strategy. Retrieved July 25,

from file:///C:/Users/IPSR/Downloads/global-thematic-review-on-child-protection-2012.pdf

Munro, E. (2011). The Munro Report of Child Protection. Interim Report: The Child’ s Journey, London: Department for Education. United Nations Children’s Fund (UNICEF). (2011). Situation Analysis of Children and Women 2011.Bangkok: UNICEF Thailand.

Wulczyn, F., Daro, D., Fluke, J., Feldman, S., Glodek, C., &Lifanda, K. (2010). Adapting a systems approach to child protection: Key concepts and considerations. New York: UNICEF.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23