ศึกษาความต้องการและแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • อดิเรก นวลศรี
  • ปิยนันต์ คล้ายจันทร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนภาษาจีน, การสอนภาษาจีน, ภาษาจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน และศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนนทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบสำรวจ และเทคนิคเดลฟาย

ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) ด้านความต้องการและ ความจำเป็นในการจัดการเรียนการสอน 2) ด้านสาระเนื้อหาที่ควรจัดสอน 3) ด้านรูปแบบและลักษณะ การจัดการเรียนการสอน 4) ด้านประโยชน์และความคาดหวังต่อการเรียนภาษาจีน 5) ด้านแนวคิดเชิงนโยบาย 6) ด้านลักษณะเด่นของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในท้องถิ่น และ 7) ด้านความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอน

แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารจัดการการจัดการเรียน การสอนภาษาจีน ควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการในระยะ 5-10 ปี อย่างเป็นรูปธรรม 2) ด้านหลักสูตรภาษาจีน ควรมีการกำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษาให้ชัดเจน มีการจัดทำหลักสูตร ที่บูรณาการกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีการจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพของสังคมปัจจุบันของประเทศและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ควรกำหนดแนวทาง รูปแบบการสอนที่ชัดเจน ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสามารถประยุกต์ ใช้ได้จริง 4) ด้านบุคลากร บุคลากรผู้สอนควรมีความรู้ความสามารถในศาสตร์การสอนเป็นอย่างดี

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาจีน. เอกสารอัดสำเนา.

ซุน เหล่ย. (2550). สภาพและแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับช่วงชั้นที่ 3-4 ในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณรงค์ พิพัฒนาศัย. (2557). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

รณพล มาสันติสุข. (2553). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. กรุงเทพ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลลิดา ภู่ทอง. (2552). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษาเขตภาคเหนือตอนบน. (รายงานการวิจัย), เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศุภชัย แจ้งใจ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนภาษาจีนของผู้เรียนสาขาวิเทศธุรกิจจีนและสาขาจีนศึกษาคณะวิเทศศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต.

ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย.(2556). ความสำคัญของภาษาจีนในประเทศไทย. สืบค้น 29 มกราคม 2558, จาก https://blog.eduzones.com/enn/121114

สุรีพร ไตรจันทร์. (2557). สภาพปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยยุคปัจจุบันของนักเรียนระดับอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2).

สุภิญญา เรือนแก้ว. (2552). ความสำคัญของภาษาจีนในปัจจุบัน. สืบค้น 30 มกราคม 2558, จาก http://ning-50010110079.blogspot.com/2009/09/blog-post.html

สำนักงานรัฐมนตรี. (2556). แผนพัฒนาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ (เฉพาะภาษาจีน). สืบค้น 29 มกราคม 2558, จาก http://www.moe.go.th/websm/2013/dec/439.html

Peng Liting. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาจีนของนิสิตมหาวิทยาลัยสยาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23