การกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทกลุ่มธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พรปวีณ์ วรเศรษฐ์พงศา สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
  • สุชาติ ปรักทยานนท์ สาขาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การกำกับดูแลกิจการ, ผลการดำเนินงานทางการเงิน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

การกำกับดูแลกิจการเป็นส่วนสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่ดี ทั้งด้านความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลของกิจการ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการกำกับดูแลกิจการในประเทศไทยภายใต้กฎหมายและนโยบายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand: SET) และวิเคราะห์ผลกระทบของกลไกการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจการเงิน 70 บริษัท ประกอบด้วยธนาคาร 11 แห่ง และบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคาร 59 แห่ง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies: CGR) ประจำปี 2557-2561 ตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับ The Organization for Economic Co-Operation and Development (OECD) สถิติที่ใช้ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่าความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลและคณะกรรมการตรวจสอบ มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัท วัดผลโดยใช้อัตราส่วนผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

References

ณิชชนันท์ จันทรเขตต์. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ปริย เตชะมวลไววิทย์. (2561). ทำไมต้องประเมิน CG Watch. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.).

ฝ่ายพัฒนาธรรมภิบาลเพื่อตลาดทุน. (2555). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555 : The Principles of Good Corporate Governance for Listed Companies 2012. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2562). ภาพรวมของการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.สืบค้น 6 สิงหาคม 2562, จาก www.set.or.th.

สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 : Corporate Governance Code for listed companies 2017. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

อรพรรณ เลิศรุจิวณิช. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดี การป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชั่น และมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Alderman, J. R., & Kennedy Jollineau, S. J. (2019). Can audit committee financial expertise increase external auditors’ litigation risk? The moderating effect of audit committee independence. SSRN Electronic Journal, 93(6), 1–28. doi:10.2139/ssrn.3380099

Aczel, B., Szollosi, A., & Bago, B. (2017). The effect of transparency on framing effects in within-subject designs. Journal of Behavioral Decision Making, 31(1), 25–39. doi:10.1002/bdm.2036

Abdallah, A.A.N., Ismail, A. K.(2017). Corporate governance practices, ownership structure, and corporate performance in the GCC countries. J. Int. Financ. Mark. Inst. Money, 46(3), 98-115. https://doi.org/10.1016/j.intfin.2016.08.004.

Al-ahdal Waleed M., Alsamhi, M. H., Tabash, M. I., & Farhan, N. H. S. (2020). The impact of corporate governance on financial performance of Indian and GCC listed firms: An empirical investigation. Research in International Business and Finance, 51, 101083. doi:10.1016/j.ribaf.2019.101083

Ammann, M., Oesch, D., & Schmid, M. M., (2011). Corporate governance and firm value: international evidence. J. Empir. Finance, 18(1), 36-55. https://doi.org/10.1016/j.jempfin.2010.10.003.

Balasuramanian, B., Black, B., & Khanna, V. (2010). The relation between firm-level corporate governance and market value: A study of India. Law & Economics Working Papers, 10(1/4), 1-28 . University of Michigan Law School Scholarship Repository.

Baxter, P. (2014). Corporate governance ratings and financial performance: evidence from Australia. International Journal of Corporate Governance, 5(3/4), 178. doi:10.1504/ijcg.2014.064723

Brown, L. D., & Caylor, M. L. (2006). Corporate governance and firm valuation. J. Acco. Public Policy, 25(4), 409–434. https://doi.org/10.1016/j.jaccpubpol.2006.05.005.

Bozina Beros, M. (2017). Some reflections on the governance and accountability of the single resolution board. SSRN Electronic Journal, 3(1), 1-17. doi:10.2139/ssrn.2940198

Ciftci, I., Tatoglu, E., Demirbag, M., & Zaim, S., (2019). Corporate governance and firm performance in emerging markets : evidence from Turkey. Int. Business Review, 28(1), 90–103.

Dow, S., & McGuire, J. (2016). Family matters?: A cross-national analysis of the performance implications of family ownership. Corporate Governance: An International Review, 24(6), 584–598. doi:10.1111/corg.12155

Fairhurst, D. D., & Nam, Y. (2019). Corporate governance and financial peer effects. Financial Management, 2(2), 797-818. doi:10.1111/fima.12240

Gupta, A., Priya, B., Williams, J., Sharma, M., Gupta, R., Jha, D. K., Ebrahim, & S. Dhillon, P. K. (2015). Intra-household evaluations of alcohol abuse in men with depression and suicide in women: A cross sectional community-based study in Chennai, India. BMC Public Health, 15(1), 636. DOI: https://doi.org/10.1186/s12889-015-1864-5

Kamarudin, K. A., Wan Ismail, W. A., & Samsuddin, M. E. (2012). The role of the audit committee in moderating the negative effect of non-audit services on earnings quality. SSRN Electronic Journal, 15(1), 432. doi:10.2139/ssrn.2051258

Kumar, P., & Zattoni, A. (2016). Family business, corporate governance, and firm performance. Corporate Governance: An International Review, 24(6), 550–551. doi:10.1111/corg.12186

Kumar, P., & Zattoni, A. (2015). Ownership structure, corporate governance and firm performance. Corporate Governance: An international review, 23(6), 469–471. doi:10.1111/corg.12146

Moore, M. T. (2015). The (Neglected) value of board accountability in corporate governance. SSRN Electronic Journal, 9(1), 10-18. doi:10.2139/ssrn.2566335

Roy, A. (2017). Corporate governance compliance, governance structures, and firm performance. SSRN Electronic Journal, 21(1), 31-50. doi:10.2139/ssrn.2988073

Sami, H., Wang, J., & Zhou, H., (2011). Corporate governance and operating performance of Chinese listed firms. J. Int. Account., Audit. Taxat, 20(2), 106–114. https://doi.org/10.1016/j.intaccaudtax.2011.06.005.

Shahwan, T. M. (2015). The effects of corporate governance on financial performance and financial distress: evidence from Egypt. Corporate Governance: The International Journal of Business in Society, 15(5), 641–662. doi:10.1108/cg-11-2014-0140

Shao, C., Ciampaglia, G. L., Varol, O. (2018). The spread of low-credibility content by social bots. Nat Commun, 9, 4787. doi:10.1038/s41467-018-06930-7

Thrikawala, S., Locke, S., & Reddy, K. (2013). Corporate governance – performance relationship in Microfinance Institutions (MFIs). Asian Journal of Finance & Accounting, 5(1). doi:10.5296/ajfa.v5i1.3119

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23