การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดของผู้ซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่อยู่ในวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ พะเนียงเวทย์
  • พีรภาว์ ทวีสุข

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและความคิดเห็นของผู้ซื้อเกี่ยวกับ กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของผู้ซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่อยู่ในวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่อยู่ในวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่า T-Test และ F-Test

ในกรณีพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะมีการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้ วิธี Games-Howell Post Hoc Test จากการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท ส่วนใหญ่มีรายได้ประมาณ 10,000-20,000 บาท และมีสถานภาพโสด

ผู้บริโภคให้ความสำคัญในการเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ด้านส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับช่องทาง การจัดจำหน่ายสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านราคา

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าถ้าผู้บริโภคมีอายุรายได้ที่แตกต่างกันจะให้ความสำคัญกับส่วน ประสมทางการตลาดโดยรวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ความแตกต่างกัน ในเรื่องของเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และสถานภาพให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดโดยรวม ไม่แตกต่างกัน

References

จักรพงศ์ วัฒนายิ่งสกุล. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เจษฎา นกน้อย. (2546). พฤติกรรมการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. (คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2553). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: ที. พี. พริ้นท์.

วรีวรรณ ชาญประพันธ์ (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วลี โลหกุล. (2548). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของคนทำงาน. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วรวีร์ แต้มคงคา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตราไวไว ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร.(2558). ที่ตั้งและลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2558, จาก http://203.155.220.230/info/NowBMA/frame.asp.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปี 2558 และแนวโน้มปี 2559. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารกสิกรไทย.

สำเนียง ประถมวงษ์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของประชาชนในเขตอำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชัย ตันติยาสวัสดิกุล. (2545). พฤติกรรมการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิชาต รังสิมันต์วงศ์. (2552). การวิเคราะห์อุปสงค์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของผู้บริโภคในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ACNEWS. (2558). Received October 10, 2015, from http://www.acnews.net/index.php.

Hanna, N. & Wozniak, R. (2001). Consumer behavior: An applied approach. New Jersey: Addison Wesley Publishing Company.

Kotler, P. (2003). Marketing Management. The Millennium Edition. New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Schiffman, L.G., & Kanuk, L.L. (2003). Consumer Behavior. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23