การบริหารจัดการการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, การพัฒนาระบบ, การให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษา, มหาวิทยาลัยของรัฐบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้ากลุ่มงาน (แนะแนวหรือสวัสดิการนักศึกษา) ผู้ปฏิบัติงานให้คำปรึกษาหรืออาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ 53 แห่ง รวมทั้งสิ้น 435 คน ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการบริหารจัดการการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบไปด้วย การวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบผลการดำเนินการและการปรับปรุงผลการดำเนินการ สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการการให้คำปรึกษานิสิตสำหรับงานกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐโดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดคือ ระบบการแนะแนวทางอาชีพ (PNI=0.23) ข้อที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุดคือ ระบบการแนะแนวส่วนตัวและสังคม (PNI=0.20)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). การให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กองกิจการนิสิต. (2561). รายงานสถิติการให้คำปรึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชนมน สุขวงศ์. (2560). การพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชรีย์นาท จิตต์บรรเทา. (2554). การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษานิสิตนักศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สันติวงษ์. (2543). การวางแผนและควบคุมงานบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธีรัชภัทร บัวคำศรี. (2557). การให้คำปรึกษา. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/204755
ปาริชาต รัตนราช. (2559). การพัฒนารูปแบบการให้ความช่วยเหลือและการให้คำปรึกษานักศึกษาพยาบาล. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
มาโนช หล่อตระกูล, ธนิตา หิรัญเทพ, และนิดา ลิ้มสุวรรณ. (2555). พฤติกรรมศาสตร์ทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.
วัชรี ทรัพย์มี. (2556). ทฤษฎีการให้บริการปรึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร พรหมนา. (2553). การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาวิชาการระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). (ร่าง) กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560- 2574). ในเอกสารประกอบจัดทำกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2574), 4-6 มีนาคม 2559, (หน้า 4-10). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562. สืบค้น 8 กันยายน 2562, จาก https://www.mhesi.go.th/home/images/2562/T_0079.pdf.
สวิชญา เกียรติคีรีรัตน์. (2557). ผลของโปรแกรมพัฒนาการเข้าถึงจิตใจผู้อื่นของนักศึกษาด้วยการให้คำปรึกษากลุ่ม. สืบค้น 7 กันยายน 2562, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/50781.
อรอนงค์ อินทรจิตร, และนรินทร์ กรินชัย. (2552). เทคนิคการให้คำปรึกษาเอชไอวี/เอดส์. กรุงเทพฯ: สถาบันจิตวิทยาฮอทไลน์.
Daft, R. L. (2002). The leadership experience (2nd ed.). Orlando, Fl: Harcourt College Publishers.
Gregg. (1957). The administrative process. New Delhi: Prentice-Hall of India Private.
Hedley, B., Brian, C., & Ross H. (1998). Learning to lead in higher education communication and society. New York: Routledge.
Koontz, H.D., & Cyril, O. D. (1972). Principles of management: An analysis of managerial functions. New York: McGraw–Hill.
Steers, R. M. (1977). Organization effectiveness: A behavioral view. Santa Monica CA: Goodyear.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น