การศึกษาเหตุผลในการเลือกเรียนและทัศนคติที่มีต่อการเรียนภาษาจีนกลางของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผู้แต่ง

  • สุภัทรา โยธินศิริกุล

คำสำคัญ:

เหตุผลในการเลือกเรียน, ทัศนคติ, การเรียนภาษาจีนกลาง, นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุผลในการเลือกเรียนและทัศนคติที่มีต่อการเรียน ภาษาจีนกลางของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัย แม่โจ้เชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เหตุผลในการเลือกเรียนภาษาจีนกลาง ของผู้ตอบแบบสอบถาม ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) มีโอกาสหางานทำง่ายและรายได้สูง 2) ประกอบ อาชีพได้หลากหลาย 3) อยากมีความรู้ความเข้าใจในภาษาจีนกลางให้มากขึ้น 4) ใช้ในการท่องเที่ยว และ 5) สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามลำดับ ส่วนทัศนคติต่อการเรียนภาษาจีนกลางในภาพรวมอยู่ ในระดับมาก แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ ด้านความสำคัญของภาษาจีนกลางเนื้อหาวิชา วิธีการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนและผู้สอนภาษาจีนกลาง สำหรับทัศนคติด้านความสำคัญของภาษาจีนกลาง ระดับที่มากที่สุด คือ ภาษาจีนกลางช่วยให้มีโอกาส ก้าวหน้าในการทำงานมากขึ้นทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาวิชาภาษาจีนกลาง ระดับที่มากที่สุด คือ เนื้อหา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคต ทัศนคติที่มีต่อวิธีการเรียนการสอนภาษาจีนกลาง ระดับที่มากที่สุด คือ การสอนโดยให้ผู้เรียนท่องจำคำศัพท์ ทัศนคติที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนภาษาจีนกลาง ระดับที่มากที่สุดคือ กิจกรรมการฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาทักษะและ ออกเสียงที่ถูกต้อง ทัศนคติที่มีต่อวิธีการใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน ระดับที่มากที่สุด คือ เอกสารประกอบการสอนที่เสริมสร้างความรู้และเข้าใจมาก และทัศนคติที่มีต่อผู้สอนภาษาจีนกลาง ระดับที่มาก ที่สุด คือ อาจารย์ที่มีความน่าเชื่อถือในประสบการณ์สอน

References

กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2551). รูปแบบการเรียนภาษาจีนของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 19(3), 15-26.

กองเทพ เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

โกชัย สาริกบุตร. (2544). การเรียนการสอนภาษาไทยในบริบทไทยศึกษาสำหรับชาวต่างประเทศ. การสัมมนาระดับภูมิภาคว่าด้วยการเรียนการสอนภาษาไทยในบริบทไทยศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเอเชียศึกษา ศูนย์จีนศึกษา. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย: ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจนจิรา มหาราช. (2555). พฤติกรรมและความพึงพอใจในการเลือกเรียนภาษาต่างประเทศในสถาบันสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ซานซาน เปา. (2555). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของครูอาสาสมัครจีน จากสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (ฮั่นปั้น) ณ จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัชชา ประกฤติพงศ์. (2545). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการเรียนต่อภาษาญี่ปุ่นในะดับชั้นที่สูงขึ้น: กรณีศึกษา ณ สถาบันภาษาเขตกรุงเทพ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ธิดารัตน์ งามนิกร. (2555). ทัศนคติและความพึงพอใจของชาวพม่าที่เรียนภาษาไทยในโรงเรียนสอนภาษาของมูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธิติญา แสงมณี. (2546). สภาพปัญหาและแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชาวต่างประเทศโรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นาที เกิดอรุณ. (2538). การเปรียบเทียบความสามารถในการรับรู้ทางสายตาของเด็กในระดับก่อนเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่ฝึกทักษะด้วยการได้ยินที่ฝึกทักษะด้วยการเล่นเกมและการใช้แบบฝึก (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิติภูมิ นวรัตน์. (2545). การพัฒนาบัณฑิตให้พร้อมแข่งขันกับนานาชาติในยุคไร้พรมแดน. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ปทิดตา กิจศิริบุญ. (2548). การวิเคราะห์ความต้องการการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พัทธยา จิตต์เมตตา. (2550). แนวคิด: เทคนิควิธีสอนโดยภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุวดี ถิรธราดล. (2550). การศึกษาปัญหาการเรียนรู้ pinyin ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

รพี สิทธิไชยากุลและคณะ. (2551). การศึกษาความต้องการศึกษาต่อสาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชา 0506703 พัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิชชุดา โรจนสวัสดิ์วงศ์. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านตัวอักษรจีนโดยใช้ตัวกำกับเสียงแบบสัทอักษร pinyin ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2546). สารานุกรมเศรษฐกิจจีน. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ.

ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์จีนศึกษาสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย: ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร. (ม.ป.ป). ปัญหาการสอนภาษาจีนในไทย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สายฝน วรรณสินธพ. (2554). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกเสียง พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ในภาษาจีนกลางของนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนและนักศึกษาคณะแพทย์แผนจีนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก วิชาการ, 14(28),97-108.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2549). แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (พ.ศ. 2549 - 2553). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2536). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรชัย ปัทมผดุงศักดิ์. (2552). ภาษาจีนพื้นฐาน1. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

สุภัทยา ทวีศรี. (2545). เจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านเมืองนะ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2535). วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฮาวเอี้ยน ไบร์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรียนภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัด (วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Grasha, A. & Reichmann, S. (1975). Workshop Handout on Learning Styles. Ohio: Faculty Resource, University of Cincinnati.

Gardner, R.C. (1985). Social psychology and second language learning: The role of attitudes and motivation. London: Edward Arnold publishers.

Herrero, A.H. (2005). Content-based instruction in an English oral communication course at the University of Costa Rica. ActualidadesInvesticativesen Education, 5(2),1-28.

Kathleen, B. E. (1999). Speaking: a critical skill and a challenge. CALICO, 16(3), 277.

Murphy, T. (1990). The song stuck in my head phenomenon: a melodic din in the LAD?. System, 18(1), 53-64.

National Bureau of Statistics of China. (2015, December 10). Retrieved from http://www.stats.gov.cn/english/statisticaldata/AnnualData/

Sua, T. Y., Ngah, K., & Darit, S. M. (2013). Parental choice of schooling, learning processes and inter-ethnic friendship patterns: The case of Malay students in Chinese primary schools in Malaysia. International Journal of Educational Development, 33(4), 325-336.

Ward, L. F. (1994). Young Children Learning Languaged. New York: Cambridge University Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23