การรับรู้การสื่อสารการส่งเสริมการขายผ่านระบบออนไลน์ร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ทินกร โพธิ์สีตา สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะการจัดการธุรกิจและการเงิน มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

คำสำคัญ:

การรับรู้การสื่อสารการตลาด, ระบบออนไลน์, ร้านสะดวกซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การสื่อสารการส่งเสริมการขายผ่านระบบออนไลน์ของร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อการรับรู้การสื่อสารการส่งเสริมการขายผ่านระบบออนไลน์ของร้านสะดวกซื้อ และ 3) เพื่อพยากรณ์พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อการรับรู้การสื่อสารการส่งเสริมการขายผ่านระบบออนไลน์ของร้านสะดวกซื้อ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์ระดับการรับรู้การสื่อสารการส่งเสริมการขายผ่านระบบออนไลน์ของผู้บริโภคพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

References

จุฬาลักษณ์ ตั้งรัตคณะ. (2546). ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่ห้างสรรพสินค้าในเขตกรุุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีรุตย์ กนกธร. (2553). การรับรู้สื่อดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในมุมมองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 ในภาคตะวันออก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน). (2560). รายงานประจำปี 2560. สืบค้นจาก https://www.cpall.co.th/wpcontent/uploads/2018/06/CPALL-AR2017_Th_HiRes.pdf.

พัลลภ เหมือนคีรี. (2537). การสื่อสารการตลาดค้าปลีกของร้านเซเว่นอีเลฟเว่น พ.ศ.2532-2537. กรุงเทพฯ : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2551). บันทึกความสำเร็จธุรกิจดอทคอม e-Commerce Success Case Study มุมมองการตลาดและกรณีศึกษาเว็บไซต์ไทย. กรุงเทพฯ: พงษ์วรินการพิมพ์.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2556). ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในปี พ.ศ.2556. สืบค้นจาก http://library.nhrc.or.th/ULIB/?rescanhp=yes&20200324122448_821

อรวรรณ เจริญจิตรกรรม. (2549). การสื่อสารการตลาด (IMC) การรับรู้ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานการค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อังคณา คุ้มไทย. (2553). การเปิดรับสื่อและความพึงพอใจสื่อประชาสัมพันธ์ภายในของพนักงานบริษัทโทรคมนาคม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23