การศึกษาอิทธิพลของภาพลักษณ์องค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (eWOM) ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

ผู้แต่ง

  • ญาณทัศน์ ไหมกัน คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • พีรภาว์ ทวีสุข หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตย์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์องค์กร, ความรับผิดชอบต่อสังคม, การสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์, บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้าใช้บริการในด้านภาพลักษณ์องค์กรที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้าใช้บริการในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยการวิจัยนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิง ปริมาณ ตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาพลักษณ์องค์กรมีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (eWOM) ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยด้านของภาพลักษณ์องค์กรที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน รองลงมาคือ ด้านภาพลักษณ์สินค้า/บริการ และด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า (2) ในส่วนของความรับผิดชอบต่อสังคมมีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (eWOM) ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยด้านของความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ด้านเศรษฐกิจ รองลงมาคือ ด้านจริยธรรม และด้านสาธารณประโยชน์

References

คะนึงนิตย์ หีบแก้ว. (2557). ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อภาพลักษณ์ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

จักรินทร์ เจริญนิติกุล. (2556). ภาพลักษณ์องค์กร ภาพลักษณ์ของร้านค้า และความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าตราสินค้า 7-Eleven ในแขวงสีลม จังหวัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ซิว หลี่. (2556). ปัจจัยการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวจีนในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทัศนี จตุพรหมวงศ์. (2557). การรับรู้ภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานครปริทัศน์, 4(1), 5.

นัฐกานต์ เครือชัยแก้ว. (2557). การรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้าและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. (2560). รายงานประจำปี 2560. สืบค้น 24 กันยายน 2561, จาก https://www.thailandpost.co.th/un/article_detail/aboutus/89/10053

พรพรรณ จตุพรหมวงศ์. (2556). ภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกตราสินค้า กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโค้กกับเป๊ปซี่. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานครปริทัศน์, 3(2), 58.

เมธา ชาญวณิชตระกูล. (2556). เรื่อง ภาพลักษณ์องค์กร ความพึงพอใจ และแรงจูงใจของผู้บริโภคที่มีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมในการใช้บริการเทคโนโลยี 3G กับผู้ใช้บริการที่ผู้บริการอยู่ในกรุงเทพมหานคร. WMS Journal of Management Walailak University, 2(3), 32-42.

รวีพรรณ อดุลวัฒนศิริ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อบริการสินเชื่อ ภาพลักษณ์องค์กร และส่วนประสมการตลาดกับคุณภาพการให้บริการสินเชื่อ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขามหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัฐสุดา สกลกิจติณภากุล. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยของการตลาดด้วยเนื้อหาที่มีผลต่อความไว้วางใจของกลุ่มผู้ซื้อเสื้อผ้าในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

วรฎิฐา สิทธิมาลิก. (2556). กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมกับประโยชน์ที่ได้รับของวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรินทร์ยุพา พิมพ์สะอาด. (2558). อิทธิพลของการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการผ่านการรับรู้คุณภาพการให้บริการสวนน้ำจูราสสิค จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2560). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ.2560. สืบค้น 3 ตุลาคม 2561, จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=10&statType=1&year=60

สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์. (2557). อิทธิพลของการสนับสนุนกิจกรรมด้านกีฬาที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ฝังใจของตราสินค้า (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ. (2560). ปณท. ครองแชมป์ตลาดไปรษณีย์ภัณฑ์และรับส่งสินค้ากวาดแชร์ 55%. สืบค้น 26 กันยายน 2561, จาก http://www.thansettakij.com/content/210970.

อิสริยา บัวคลี่. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์องค์กรและความจงรักภักดีของลูกค้าบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นนทบุรี: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23