แนวทางการพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

ผู้แต่ง

  • กรกฎ จำเนียร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กมลรัฐ อินทรทัศน์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปิยฉัตร ล้อมชวการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

สถานีโทรทัศน์ชุมชน, การพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชน, ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของชุมชนที่เกี่ยวข้องและที่เอื้อต่อการจัดตั้งโทรทัศน์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2) ศึกษาบริบทการสื่อสารของชุมชนที่เกี่ยวข้องและที่เอื้อต่อการจัดตั้งโทรทัศน์ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 3) เสนอแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรจากพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ทะเลน้อยและพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จำนวน 140 คน โดยเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มตัวอย่างที่ร่วมทำงานกับแกนนำในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนเชิงคุณภาพใช้วิธีการสนทนากลุ่มย่อย และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำทางความคิดและเป็นคณะแกนนำขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ จำนวน 14 คนจาก 2 พื้นที่ข้างต้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทของชุมชน มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ปัญหาคือ การหลงลืมวิถีชุมชนและการขาดคนรุ่นใหม่ และชุมชนนิยมเปิดรับสื่อโทรทัศน์ 2) บริบทการสื่อสารของชุมชน กลุ่มแกนนำควรมีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายและมีกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้าร่วมชุมชนต้องการรายการข่าว เนื้อหาด้านการพัฒนาตามที่ชุมชนต้องการเนื้อหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงของชีวิตและอัตลักษณ์ของชุมชน 3) แนวทางในการบริหารจัดการ คือ (1) การบริหารตามแนวคิด “โพนดี ดังดี ดังนาน” “โพน” เป็นเครื่องมือสื่อสารร่วมกันในพื้นที่มาแต่โบราณ (2) รูปแบบและเนื้อหารายการ ควรมาจากคณะทำงานชุมชน และ (3) การจัดหารายได้คือ เงินบริจาค ค่าโฆษณาที่ส่งเสริมชุมชนและทุนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน: การประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ณัฐสุพงศ์ สุขโสต, และขจิตขวัญ กิจวิสาละ. (2560). การผลิตสื่อชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมและสำรวจชุมชน. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการวางแผน การออกแบบและการผลิตสื่อชุมชน (น. 5-13). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. (2555). การใช้สื่อบูรณาการเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.researchgate.net/publication/256372503_karchisuxburnakarpheuxsrangkhwampenphlmeuxngkabxnakhtprachathiptiythiy_The_Use_of_Integrated_Media_for_Building_Citizenship_towards_The_Future_of_Thai_Democracy

ภัทรา บุรารักษ์. (2558). บทเรียนจากการทดลองดำเนินการโทรทัศน์_บริการชุมชนในประเทศไทย: Lesson_learnt_from_Community_TV_management_in_Thailand. สืบค้น 9 สิงหาคม 2559, จาก https://www.academia.edu/23932726

ศูนย์วิจัยลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (ม.ป.ป.). โครงการพัฒนาสื่อความรู้ ความรักและความหวงแหนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.slb-media.psu.ac.th/

ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ. (2558). ธุรกิจโทรทัศน์. ใน สมสุข หินวิมาน (บ.ก.), ธุรกิจสื่อสารมวลชน (น. 378-387). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภนันท์ ฤทธิ์มนตรี, และนิธิดา แสงสิงแก้ว. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดขึ้นของทีวีชุมชนในระบบดิจิทัล ศึกษากรณีพะเยาทีวีชุมชน. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 1(1), 17-31.

เสรี กลิ่นจันทร์. (2558). ความเคลื่อนไหว วิกฤติลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2559, จาก slbact.org/paper/60+&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th

อิสระ ไพรีพ่ายฤทธิ์. (2556). ทีวีดิจิทัล: อะไรคือทีวีดิจิทัลและกระบวนการให้ใบอนุญาตของ กสทช. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.siamintelligence.com/digital-tv-nbtc-process/

เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์. (2560). ปรัชญาและวิวัฒนาการของสื่อชุมชนจากวิทยุชุมชนจนถึงทีวีชุมชน กระบวนการวางแผนและยุทธศาสตร์สื่อชุมชน (ทีวีชุมชน). ใน การประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษาโครงการทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง 27-28 มิถุนายน 2560 ณ วิทยาลัยชุมชนพังงา วิทยาเขตตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

Butsch, R. (2011). Audiences and publics, media and public spheres. In Nightingale, V. (Ed.), The Handbook of Media Audiences. UK: Wiley-Blackwell.

De Negri, B., Thomas, E., Illinigumugabo, A., Muvandi, I., Amp; & Lewis, G. (1998). Empowering communities: Participatory techniques for community-based programme development. Volume 1(2): Trainer’s Manual (Participant’s Handbook). Nairobi, Kenya: The Centre for African Family Studies in collaboration with the Johns Hopkins University Center for Communication Programs and the Academy for Educational Development. (Training Manual).

Habermas, J., Lennox, S., & Lennox, F. (1974). New German critique. Retrieved December 21, 2017, from http://www.jstor.org/stable/487737.

Singhal, A. (2001). The participatory continuum. Retrieved August 6, 2017, from https://www.researchgate.net/publication/228390792_Facilitating_Community_Participation_Through_Communication

Straubhaar, J., LaRose, R., & Davenport, L. (2013). Media now: Understanding media, culture and technology (7th ed.). Boston: Wadsworth.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24