การสำรวจความคิดเห็นของชุมชนที่มีต่อการดำเนินงานของบริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพจำกัด (มหาชน)

ผู้แต่ง

  • ชัยศักดิ์ ศุกระกาญจน์

คำสำคัญ:

การสำรวจความคิดเห็นของชุมชน, ผลกระทบ BAFS

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นชุมชนรอบบริเวณที่ตั้ง บริษัทฯ และคลังน้ำมัน ทั้งคลังน้ำมันอากาศยานดอนเมืองและคลังน้ำมันอากาศยานสุวรรณภูมิที่มีต่อ การดำเนินงานของบริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ (2) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงการดำเนินงานของบริษัทฯ ต่อไป การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมจากแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การตรวจสอบข้อมูลทุติยภูมิได้แก่ หนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการเป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของชุมชนรอบบริเวณที่ตั้งบริษัท BAFS อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.18) แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความปลอดภัยชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.39) ด้านสังคมอยู่ ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.37) ด้านการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.22) ด้านสุขภาพชุมชนอยู่ใน ระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.99) ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.93) ทรัพยากรที่ใช้ดำเนินการให้ชุมชน ของบริษัท BAFS อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.21) และด้านความสุขชุมชนอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.12) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก สำหรับพื้นที่ ดอนเมือง (1) การขยายกลุ่มเป้าหมายในการขับเคลื่อนกิจกรรมไปยังกลุ่มอื่นๆให้ครอบคลุม เช่น เด็กและเยาวชน (2) มุ่งเน้นการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและการให้ความช่วยเหลือกรณีเร่งด่วนต่างๆ พร้อมทั้ง เสริมสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน ประการที่สอง สำหรับพื้นที่สุวรรณภูมิ (1) ควรจัดกิจกรรมที่ สะท้อนความตั้งใจของบริษัทให้มากขึ้นพร้อมๆ กับการทุ่มเทของผู้รับผิดชอบ เพราะที่ผ่านมาการยอมรับ มักเกิดจากตัวบุคคลมากกว่า และ (2) ควรขยายกิจกรรมไปยังพื้นที่ต่างๆ เช่น หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 9 โดย เฉพาะการสนับสนุนการศึกษา การเข้าร่วมพัฒนาชุมชนในกายภาพหรือโครงสร้างพื้นฐานที่ชุมชนขาดแคลน เพราะเป็นกิจกรรมที่ได้รับการยอมรับ และประสบความสำเร็จในหมู่ที่ 10 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป มี 2 ประเด็น คือ (1) ควรศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงาน ในประเด็นการดูแลช่วยเหลือชุมชนบริเวณโดยรอบสถานประกอบการของธุรกิจในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้ทราบถึงความเหมือน ความแตกต่าง มาถอดแบบเป็นตัวแบบการดำเนินงานเพื่อรับผิดชอบต่อ สังคมของบริษัท และ (2) ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของชุนชนบริเวณโดยรอบคลังน้ำมัน ว่าภายหลังการดำเนินกิจการส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างไร

References

กำจัด สุขเจริญ. (2544). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เครือซีเมนต์ไทย (SCG). (2553). CSR ด้วยหัวใจ ใครๆก็ทำได้. กรุงเทพฯ: เครือซีเมนต์ไทย (SCG)

คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน. (2551). เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม. สืบค้น 13 กันยายน 2556, จาก http://www.sec.or.th/infocenter/th/pub/other/CSR.pdf.

คอทเลอร์, ฟิลิป และลี, แนนซี่ (2005). บรรษัทบริบาล (ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร) ทำการกุศลเพื่อภาพลักษณ์องค์กรและตอบสนองประเด็นสังคม (Corporate Social Responsibility Doing the Most Good For Your Company and Your Cause) (รมณียฉัตร แก้วกิริยา, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ยูนิเวอร์แซล พลับลิชิ่ง.

นวรัตน์ ขวัญเมือง. (2554). ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการตลาดกลางการเกษตรท่ายางจังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน). (2556). ประวัติความเป็นมา. สืบค้น 13 กันยายน 2556, จาก http://www.bafsthai.com/about.

ปาริชาติ สังขทิพย์. (2545). ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่ส่งผลต่อชุมชนแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ญนี ภูมิธรานนท์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรขององค์การธุรกิจในประเทศไทย. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2553). CSR การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ปฐมบท. กรุงเทพฯ: บริษัท ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์จำกัด.

วิทยา ชีวรุณทัย. (2553). พลัง CSR สู่องค์กรเป็นเลิศ ฉบับ Advanced. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.

วรพรรณ เอื้ออำภรณ์. (2555). DNA CSR แบบไทยๆตามกระแสโลก. กรุงเทพฯ: บริษัท เซจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

สิตางคุ์ สุนทรโรหิต. (2550). การมีส่วนร่วมของบุคลากรที่มีต่อการแสดงความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กรธุรกิจที่ได้รับรางวัลคณะกรรมการแห่งปีที่มีผลงานดีต่อเนื่อง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงวน คำรศ. (2551). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาล ของเทศบาลตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สมมาตร์ ไทยานนท์. (2544). ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรม (เจนโก้) ที่มีต่อประชาชนในชุมชนมาบชะลูด เขตเทศบาลตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง. (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิญญา ตันตระกูล. (2552). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาเมืองเก่า จังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

อำนวย โนรีวงษ์. (2544). ปัญหาและผลกระทบการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง: ศึกษาเฉพาะกรณี โรงไฟฟ้าบ่อนอก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Kotler, P. & Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility: Doing the Most Good for your Company and Your Cause. New Jercy: Wiley.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introduction Analysis. New York: Harper and Row

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23