การถอดบทเรียนการวิจัยและประเมินผลการดำเนินกระบวนการสมัชชาคุณธรรม ปีงบประมาณ 2558
คำสำคัญ:
คุณธรรม, แผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ, สมัชชาคุณธรรมบทคัดย่อ
การถอดบทเรียนการวิจัย และประเมินผลการดำเนินกระบวนการสมัชชาคุณธรรม ปีงบประมาณ 2558 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินผลการจัดงานสมัชชาคุณธรรมระดับจังหวัด และสมัชชาคุณธรรม ประเทศไทยครั้งที่ 7 ปีงบประมาณ 2558 และ2. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการ/ กิจกรรม การขับเคลื่อนแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2558 จำแนกตามกลุ่มเครือข่าย 7 กลุ่ม และในภาพรวม โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือ กลุ่มเครือข่าย 7 เครือข่าย ผู้เข้าร่วมงานสมัชชาคุณธรรมประเทศไทย ครั้งที่ 7 จำนวน 2,000 คน และผู้เข้าร่วมงานสมัชชาคุณธรรมคุณธรรม 4 จังหวัดนำร่อง จังหวัดละ 500 คน ใช้แบบสอบถาม แบบสังเกตการณ์ และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า
1. การประเมินผลการจัดงานสมัชชาคุณธรรมระดับจังหวัด และสมัชชาคุณธรรมประเทศไทย ครั้งที่ 7 ในด้านประสิทธิผล ได้แก่ การจัดงานสมัชชาคุณธรรมได้ช่วยแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการขยายผล การสร้างคุณธรรม ในด้านประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดงานสมัชชาคุณธรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และใช้ ทรัพยากรอย่างประหยัด ในด้านกระบวนการได้แก่ การให้หน่วยงานเข้าร่วมงานสมัชชาคุณธรรมอย่างทั่วถึง และมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานสมัชชาคุณธรรม ด้านความสำเร็จ ได้แก่ งานสมัชชา คุณธรรมสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่าย กระตุ้นให้สังคมเกิดการตื่นตัวด้านคุณธรรม และ ด้านผู้เข้าร่วมงานสมัชชาคุณธรรมมีความพึงพอใจในการบริหารจัดการ กระบวนการจัดงานการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และผลลัพธ์ของงานสมัชชาคุณธรรม
2. การวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนา ความซื่อตรงแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2558 จำแนกตามกลุ่มเครือข่าย 7 กลุ่ม และในภาพรวมพบว่า เครือข่าย การศึกษา เครือข่ายสื่อมวลชน เครือข่ายศาสนา เครือข่ายชุมชน เครือข่ายธุรกิจ เครือข่ายองค์กรภาครัฐ และเครือข่ายการเมือง ทุกเครือข่ายมีกระบวนการการดำเนินงานขับเคลื่อนสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ตาม แผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ
กล่าวโดยสรุป ประจำปีงบประมาณ 2558 ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยพิจารณาจาก ผู้เข้าร่วมงานสมัชชามีความตระหนักถึงประเด็นคุณธรรมและองค์กรภาคี 7 กลุ่มเครือข่าย และการขับเคลื่อน ในระดับพื้นที่จังหวัดและภาคได้นำแผนฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมความซื่อตรง โดยส่วนใหญ่มีการกำหนดโครงการและแนวทางการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน โดยบางองค์กรมีภารกิจหรือแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม รูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมเป็นการดำเนินงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร และส่วนใหญ่ มีความสำเร็จตามที่กำหนดไว้ในโครงการ และมีแนวทางการขยายผลโดยเครือข่ายองค์กรภาคีมี กลุ่มเป้าหมายเดิมกลุ่มเป้าหมายใหม่ โดยเน้นไปยังกลุ่มเด็กและเยาวชน
References
คณะรัฐประศาสนศาตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2557). รายงานผลการวิจัยและประเมินผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติปี พ.ศ. 2557-2559 ขององค์กรภาคีเครือข่ายภายใต้การดำเนินโครงการสมัชชาคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นงลักษณ์ วิรัชชัย, รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล, และชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ, (2549). การประเมินโครงการสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติและตลาดนัดคุณธรรม ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม.
นิติพล ธาระรูป. (2559). การถอดบทเรียนการขับเคลื่อนแผนพัฒนา ความซื่อตรงแห่งชาติภายใต้การดำเนินโครงการ สมัชชาคุณธรรม.
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2554). แผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ (ฉบับทบทวน) พ.ศ. 2557-2559. กรุงเทพฯ: พริกหวาน.
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2556) กระบวนการขับเคลื่อนสมัชชาคุณธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม.
อรทัย อาจอ่ำ, ครรชิต ปิตะกา, รัดใจ เปียแก้ว, พิพัฒน์ เพชรจิโรจน์, ประมวล บุญมา, และสุชาดา นกอยู่, (2550). ผลการประเมินการขับเคลื่อนคุณธรรมและการจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ. ครั้งที่ 2. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
Best, J.W. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall inc.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น